Page 198 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 198

๘
        บทที่






                    ๓
                    ๓.๒ ปัจจัยด้านกฎหมาย
.๒ ปัจจัยด้านกฎหมาย
              	     ม
                    มีสาระสำคัญ ดังนี้  ีสาระสำคัญ ดังนี้

              	     	 (๑) ระเบียบเกี่ยวกับการเปลี่ยนนายจ้างที่กำหนดให้ลูกจ้างที่ลาออกหรือถูกเลิกจ้างโดย
              ไม่มีความผิด ต้องดำเนินการหานายจ้างใหม่ให้แล้วเสร็จภายใน ๗ วัน ลูกจ้างไม่สามารถปฏิบัติได้ทันเวลา
              	     	 ส่วนในกรณีที่มีข้อพิพาทแรงงาน การบังคับใช้แรงงาน หรือการละเมิดสิทธิแรงงานในกลุ่ม
              แรงงานข้ามชาติ และแรงงานไม่ยินดีทำงานกับนายจ้างเดิม รัฐบาลไทยจะต้องยื่นมือเข้าช่วยเหลือหรือ
              แก้ไขปัญหาในเรื่องการเปลี่ยนนายจ้างด้วย หากให้ลูกจ้างเป็นผู้หานายจ้างใหม่เองย่อมเป็นไปได้ยากมาก
              	     	 (๒)  รัฐบาลไทยยังไม่มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อรับรองหรืออำนวย

              ความสะดวกให้แก่กลุ่มแรงงานข้ามชาติที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายแต่มีการขึ้นทะเบียนถูกต้อง ให้ได้รับการ
              คุ้มครองและสามารถใช้สิทธิทางกฎหมายหรือกระบวนการยุติธรรมได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากถูกบังคับใช้
              กฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และถูกส่งกลับประเทศต้นทางเสียก่อน แม้เป็นผู้ถูกเอาเปรียบ หรือผู้เสียหาย
              	     	 (๓) การที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๕๙ กำหนดให้
              เจ้าหน้าที่มีอำนาจเปรียบเทียบปรับตามกฎหมายได้นั้น  มีข้อควรพิจารณาว่า  ความผิดตาม
              กฎหมายฉบับนี้มีหลายประเด็น แม้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานแต่ก็มีนัยสำคัญหรือผลกระทบต่อแรงงานที่
              แตกต่างกัน เช่น การละเมิดในเรื่องการใช้แรงงานเด็ก หรือสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน

              ควรใช้การเปรียบเทียบปรับหรือไม่ นายจ้างเลือกที่จะละเมิดและยอมเสียค่าปรับเนื่องจากยังได้รับ
              ประโยชน์จากการละเมิดมากกว่าค่าปรับ ทำให้ผู้ละเมิดไม่เกรงกลัวบทลงโทษของกฎหมาย ส่งผล
              ให้การบังคับใช้กฎหมายโดยรวมหย่อนประสิทธิภาพไปด้วย เพราะอาจเป็นช่องทางให้มีการติดสินบน
              เจ้าหน้าที่
              	     	 (๔) เจ้าหน้าที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร ชี้แจงว่า
              กฎกระทรวงฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ.๒๕๔๑) ว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในกิจการประมงทะเล ออกโดย
              อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มิให้ใช้บังคับแก่ลูกเรือที่ไปทำงาน
              ประมงทะเลอยู่นอกราชอาณาจักรติดต่อกันตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ดังนั้น ลูกเรือจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้อง
              ต่อพนักงานตรวจแรงงานตามกฎหมาย(  คร.๗)  เมื่อลูกเรือหรือทายาทของลูกเรือยื่นคำร้องเพื่อ

              เรียกร้องสิทธิตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่ไม่อาจรับคำร้องไว้พิจารณาได้
              	     	 (๕) เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองสิทธิของแรงงานข้ามชาติที่เข้าเมืองโดยผิด
              กฎหมายแต่ประสงค์จะใช้สิทธิหรือดำเนินการตามกฎหมาย ดังนั้นแรงงานข้ามชาติจึงมักถูกเจ้าหน้าที่
              จับกุมและส่งกลับประเทศต้นทางเป็นอุปสรรคต่อการเรียกร้องสิทธิหรือการดำเนินคดีตามกฎหมาย
                    แต่จากการประชุมหรือสัมมนาร่วมกันระหว่างคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน และเครือข่ายภาค
              ประชาชนกับหน่วยงานตำรวจ  มักจะได้รับคำชี้แจงจากเจ้าหน้าที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติระดับ
              บริหารอยู่เสมอว่า หากมีแรงงานข้ามชาติที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายแต่ต้องการใช้สิทธิตามกฎหมาย

              ให้ประสานไปยังเจ้าหน้าที่ ทางหน่วยงานมีมาตรการคุ้มครองชั่วคราวอยู่แล้ว แสดงให้เห็นว่าคำชี้แจง
              ดังกล่าวไม่มีผลในทางปฏิบัติจริง



        ๑๙๘  สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   198                                                                     7/28/08   9:16:46 PM
   193   194   195   196   197   198   199   200   201   202   203