Page 205 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 205
การละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อรัฐบาล
ต่อกรณีการใช้แรงงานข้ามชาติในกิจการประมงทะเลนอกน่านน้ำ มีสาระสำคัญ ดังนี้
กรณีนี้ เป็นตัวอย่างสำคัญในปัญหาเชิงนโยบายของรัฐบาล ในการรองรับตลาดแรงงานภายใน
ประเทศทั้งระบบ และโดยเฉพาะต่อกิจการประมงทะเลและธุรกิจที่ต่อเนื่องจากกิจการประมงทะเล
เนื่องจากเป็นกิจการที่มีความต้องการแรงงานมาก ในขณะที่แรงงานภายในประเทศไม่ทำงาน
ในกิจการดังกล่าว รัฐบาลจึงต้องเปิดรับแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน คือ พม่า ลาวและกัมพูชา
สถานการณ์ปัญหาที่มีลักษณะร่วมกันคือ แรงงานส่วนใหญ่หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย
ไม่ได้รับการคุ้มครองแรงงาน ทำงานที่เสี่ยงอันตรายและขาดการเตรียมความพร้อมก่อนลงเรือ ไม่มี
หลักประกันด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน (เงินทดแทน) และเข้าไม่ถึงกระบวนการ
ยุติธรรมของไทย จึงมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อรัฐบาล ดังนี้
๑. ให้ยกเลิก กฎกระทรวงฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติ
คุ้มครองแรงงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ที่ไม่คุ้มครองกิจการประมงทะเล ที่มีลูกจ้างน้อยกว่า ๒๐ คน และเรือ
ประมงที่ไปดำเนินกิจการนอกน่านน้ำไทยเป็นเวลาตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป และให้กำหนดมาตรการ
ทางกฎหมายเพื่อให้การคุ้มครองลูกจ้างในกิจการประมงทะเลทั้งในและนอกน่านน้ำให้ได้รับการคุ้มครอง
ด้านสิทธิแรงงานและควรคำนึงถึงความสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของลักษณะกิจการประมงทะเล
๒. ให้รัฐบาลทบทวนกฎหมายและมาตรการบริหารของรัฐเกี่ยวกับการประกอบกิจการ
ประมงทะเลทั้งในน่านน้ำและนอกน่านน้ำ ในเรื่องการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบกิจการประมงทะเล ระบบ
ข้อมูลเกี่ยวกับลูกเรือ การบริหารและการบังคับใช้กฎหมายด้านแรงงาน การจัดระบบการเข้าออก
ของเรือประมงที่ไปทำงานนอกน่านน้ำ เช่น เพิ่มโทษกรณีทุจริต หรือฝ่าฝืนพระราชบัญญัติเรือไทย
พ.ศ.๒๔๘๑
ทั้งนี้ ในกิจการประมงทะเลนอกน่านน้ำ ให้รัฐบาลผ่อนผันเวลาการจ้างแรงงานให้สอดคล้อง
กับสภาพงานในกิจการประมงทะเล
๓. ปรับปรุงระบบการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับกิจการประมงทะเลให้เกิดประสิทธิภาพ
และมีความเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๒๐๕
Master 2 anu .indd 205 7/28/08 9:18:27 PM