Page 206 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 206

๘
        บทที่





































                    การออกหนังสือคนประจำเรือ (Seaman Book) เพื่อให้ทราบว่าลูกเรือเป็นใครและป้องกันมิให้

              มีการทุจริตเกี่ยวกับหนังสือคนประจำเรือ
                    การจัดทำเอกสารรายการประทับตราหนังสือเรือเข้าออกนอกน่านน้ำไทย เพื่อให้ทราบข้อมูล
              การนำเรือเข้าและออกจากน่านน้ำไทยเมื่อใด เพื่อบันทึกการเข้าและออกของเรือ
                    การคุ้มครองค่าจ้าง  สวัสดิการแรงงาน  และผลตอบแทนพิเศษ  ตลอดจนการคุ้มครอง
              เรื่องสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานแก่ลูกเรือให้สอดคล้องกับกฎหมายแรงงานของไทย
              และมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศที่รัฐบาลไทยให้สัตยาบันแล้ว
                    ๔. รัฐบาลควรมีมาตรการในการคุ้มครองหรือเยียวยาแก่ลูกเรือหรือทายาทของลูกเรือ ในกรณีที่
              เกิดภัยพิบัติหรือเหตุเจ็บป่วยล้มตายดังที่ปรากฏตามคำร้องนี้ และไม่ว่าจะเกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน
              หรือไม่ก็ตาม เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐเกิดการประสานเชื่อมโยงในการทำงาน การป้องกันและแก้ไข

              ปัญหาในลักษณะบูรณาการและอำนวยความยุติธรรมแก่ลูกเรือ  ทายาทของลูกเรือหรือครอบครัว
              และประชาชนโดยไม่แบ่งแยกหรือเลือกปฏิบัติ โดยไม่ผลักภาระให้แรงงานข้ามชาติหรือประชาชนต้อง
              ไปใช้สิทธิตามกระบวนการยุติธรรมเสียก่อน
                    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ควรจัดตั้งคณะกรรมการพิเศษประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
              และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาให้มีประสิทธิภาพ โดยให้ดำเนินการเร่งด่วน
              ที่จังหวัดสมุทรสาคร และขยายไปสู่จังหวัดชายทะเลอื่นๆ







        ๒๐๖  สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   206                                                                     7/28/08   9:18:59 PM
   201   202   203   204   205   206   207   208   209   210   211