Page 204 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 204

๘
        บทที่






              ข้ามชาติจำนวนมาก  สถานีตำรวจ  และแม้กระทั่งหน่วยงานศาลยังขาดแคลนล่ามที่มีความรู้ด้าน
              ภาษาและความเข้าใจต่อแรงงานข้ามชาติเป็นจำนวนมาก
                    (๖) ให้รัฐบาลมีมาตรการทางบริหารในเรื่องการคุ้มครองแรงงานควบคู่กับหลักสิทธิประโยชน์
              สาธารณะ อันเป็นความมั่นคงของประเทศ เช่น จัดตั้งศูนย์บริการจ้างแรงงานข้ามชาติแบบเบ็ดเสร็จ
              ในจุดเดียว  ทบทวนค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการขึ้นทะเบียนแรงงานข้ามชาติให้เหมาะสม
              จัดการให้แรงงานได้ถือบัตรอนุญาตทำงาน พัฒนาระบบตรวจโรงงานให้มีผลในทางปฏิบัติ จัดให้มี
              ล่ามและอาสาสมัครแรงงานที่มีความรู้ความเข้าใจให้เพียงพอ เป็นต้น
              	     (๗) มีนโยบายคุ้มครองเป็นพิเศษสำหรับแรงงานข้ามชาติที่เป็นหญิงมีครรภ์ผู้พิการและผู้ติดเชื้อ
              เอดส์  เพื่อให้ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานในอาชีพ  การสาธารณสุขและการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายอัน

              เนื่องจากการทำงาน
                    โดยเฉพาะให้มีการรับรองสิทธิเด็กที่เกิดในประเทศไทย การศึกษาพื้นฐาน การเข้าถึงบริการสุขภาพ
                    (๘) กระทรวงแรงงานประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะสำนักงานตำรวจ
              แห่งชาติ ให้มีการคุ้มครองตามกฎหมาย เข้าถึงการใช้สิทธิตามกฎหมายมีที่พักพิงและการช่วยเหลือที่
                                                       จำเป็นสำหรับแรงงานข้ามชาติที่ขึ้นทะเบียนถูกต้อง
                                                       ตามกฎหมาย  มิให้ถูกส่งกลับประเทศต้นทางเสีย
                                                       ก่อน และให้มีการตรวจสอบการละเมิดสิทธิในกลุ่ม

                                                       แรงงานข้ามชาติก่อนที่จะถูกส่งกลับ
                                                             ในส่วนที่ไม่ขึ้นทะเบียนตามกฎหมายก็ควร
                                                       มีนโยบายหรือมาตรการในทางผ่อนปรนหรือเอื้อให้
                                                       กลุ่มแรงงานข้ามชาติมีโอกาสใช้สิทธิตามกฎหมาย
                                                       เมื่อถูกละเมิดสิทธิเช่นกัน
                                                       	     (๙) ให้กระทรวงแรงงานและรัฐบาลมีมาตรการ
              เ เด็ดขาดมิให้มีการประกอบการหรือการใช้แรงงานข้ามชาติอีกต่อไป ในกรณีที่พบว่านายจ้างที่ใช้แรงงานด็ดขาดมิให้มีการประกอบการหรือการใช้แรงงานข้ามชาติอีกต่อไป ในกรณีที่พบว่านายจ้างที่ใช้แรงงาน
              ข้ามชาติละเมิดสิทธิแรงงานขั้นพื้นฐานในเรื่องที่สำคัญ
                    (๑๐)  รัฐบาลควรทำให้สังคมไทยมีเจตคติที่ถูกต้องต่อกลุ่มแรงงานข้ามชาติ เคารพสิทธิและ

              เสรีภาพ คุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และไม่แบ่งแยกกีดกันแรงงานข้ามชาติ
              	     (๑๑) รัฐบาลไทยควรมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้อาเซียน มีกลไกการคุ้มครองและส่งเสริม
              สิทธิมนุษยชน ควบคู่ไปกับการพัฒนากลไกทางการค้า การตลาดทุนนิยมเสรีโดยเริ่มจากกลไกขจัดการ
              ค้ามนุษย์ (เด็ก สตรี) ที่อาเซียนมีแผนอยู่แล้วขยายไปยังการค้าแรงงานข้ามชาติ)และนำแนวคิดด้านสิทธิ
              มนุษยชนเพื่อการพัฒนา (RightsBased Approach to Development ) มาประกอบในการจัดทำนโยบายต่อ
              แรงงานข้ามชาติ
              	     (๑๒) รัฐบาลไทยควรเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิแรงงานย้ายถิ่นและครอบครัว

              ของสหประชาชาติ ค.ศ. ๑๙๙๐(พ.ศ.๒๕๓๓)





        ๒๐๔  สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   204                                                                     7/28/08   9:17:57 PM
   199   200   201   202   203   204   205   206   207   208   209