Page 197 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 197

การละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ







                    ประกาศจังหวัดและหนังสือเวียนยังได้ละเลยต่อการเคารพสิทธิและเสรีภาพของมนุษย์ ไม่คำนึง
              ถึงความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่นับวันยิ่งมีความ
              สัมพันธ์ในลักษณะข้ามชาติยิ่งขึ้น และเป็นนโยบายของรัฐบาลเองที่ตอบสนองต่อกลุ่มธุรกิจในการ
              จ้างแรงงานข้ามชาติ
                    คณะอนุกรรมการฯ ได้ตรวจสอบ และหารือกับผู้ว่าราชการทุกจังหวัดดังกล่าวและมีข้อเสนอ
              แนะให้ยกเลิกประกาศจังหวัดที่กำหนดมาตรการการควบคุมส่วนที่จำกัดสิทธิและเสรภาพขั้นพื้นฐาน
              ของแรงงานข้ามชาติ  เช่น  การรวมกลุ่ม  การชุมนุมกันโดยสงบ  ปราศจากอาวุธ  และมิได้ทำให้
              สาธารณะชนเดือดร้อนหรือการใช้โทรศัพท์มือถือ รวมทั้งการห้ามเรื่องประเพณีวัฒนธรรม

                    ๓. มูลเหตุการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ


                    จำแนกพิจารณาปัจจัยต่าง ๆที่เกี่ยวข้องได้ ดังนี้

              	     ๓.๑ ปัจจัยด้านนายจ้าง

                                                    เนื่องจากผู้ประกอบการธุรกิจเป็นจำนวนมากยังคงเป็น

                                                    ผู้รับจ้างผลิตสินค้าในระบบการจ้างเหมาช่วง ดังนั้นเพื่อ
                                                    ให้สามารถแข่งขันทางการค้าและรักษาระดับกำไรตามที่
                                                    ตนต้องการไว้ได้  การจ้างแรงงานข้ามชาติจึงเป็นทาง
                                                    เลือกหนึ่ง
                                                          ประกอบกับสภาพที่จำกัดหรือความเดือดร้อน
                                                    ภายในประเทศต้นทางบีบคั้นหรือกระตุ้นให้แรงงานเหล่า
                                                    นั้นย้ายถิ่นมาทำงานในประเทศไทยและประเทศเพื่อน
                                                    บ้านอื่น ๆ เช่น แหล่งงานมีจำกัด  ค่าแรงงานต่ำกว่า
                                                    ประเทศไทยมาก ตลอดจนมีความขัดแย้งทางการเมือง

                                                    จึงเกิดแรงงานเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายจำนวนมาก
                                                    สภาพเหล่านี้จึงเอื้อต่อการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ
                                                    มากยิ่งขึ้น
                                                    	     ดังที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า แรงงานข้ามชาติไม่ได้รับ
                                                    ค่าจ้างขั้นต่ำหรือสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมายคุ้มครอง
                                                    แรงงาน แรงงานข้ามชาติต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเองใน
                                                    เรื่องสุขภาพและการรักษาพยาบาลถูกหักค่าจ้างเพื่อเป็น

              ค่าใช้น้ำประปาและไฟฟ้าของนายจ้างในอัตราที่สูงมาก โดยผ่านการบริหารจัดการของผู้รับเหมา และมี
              แนวโน้มว่าสถานประกอบกิจการต่าง ๆ จะว่าจ้างแรงงานข้ามชาติเพิ่มมากขึ้น


                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๑๙๗





     Master 2 anu .indd   197                                                                     7/28/08   9:16:45 PM
   192   193   194   195   196   197   198   199   200   201   202