Page 194 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 194
๘
บทที่
อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติแรงงาน สัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๘๘ ได้บัญญัติว่าผู้มี
สิทธิจัดตั้งสหภาพแรงงาน ต้องเป็นลูกจ้างของนายจ้างคนเดียวกัน หรือเป็นลูกจ้างซึ่งทำงานในกิจการ
ประเภทเดียวกัน บรรลุนิติภาวะ และมีสัญชาติไทย และผู้ซึ่งจะได้รับเลือกตั้งหรือแต่งตั้งเป็นกรรมการ
หรืออนุกรรมการสหภาพแรงงาน ต้องมีสัญชาติไทยโดยการเกิด เห็นได้ว่ากฎหมายกลับเลือกปฏิบัติ
ต่อแรงงานข้ามชาติหรือผู้ไม่มีสัญชาติไทยในการจัดตั้งสหภาพแรงงาน
จากการตรวจสอบพบว่า เมื่อแรงงานข้ามชาติได้ตั้งตัวแทนในการเจรจาเรื่องค่าจ้างหรือ
สวัสดิการต่าง ๆ มักจะถูกนายจ้างกลั่นแกล้ง ถูกลอบทำร้ายร่างกาย ถูกจับกุมดำเนินคดีอาญา และ
ที่พบมาโดยตลอดก็คือในช่วงเวลาที่มีการเจรจาต่อรอง หรือมีปัญหาข้อขัดแย้งในโรงงาน เจ้าหน้าที่
ตำรวจมักจะมาตรวจสถานประกอบการ แรงงานข้ามชาติแม้จะมีบัตรอนุญาตทำงาน แต่จะถูกเลิก
จ้างโดยเร็ว และกลายเป็นบุคคลเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย จึงถูกจับกุมและถูกส่งกลับประเทศต้นทาง
อย่างรวดเร็ว แม้จะกำลังร้องเรียนและอยู่ระหว่างการตรวจสอบ หรืออยู่ในศาลก็ตาม
คณะอนุกรรมการฯ มีข้อสังเกตว่า ตามกฎหมายแรงงานยังได้รับรองสิทธิของลูกจ้างในการ
จัดตั้งคณะกรรมการตามกฎหมายอีกหลายคณะ เช่น คณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบ
กิจการ หรือคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตามพระ
ราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ คณะกรรมการลูกจ้าง ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์
พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแรงงานข้ามชาติมีสิทธิเป็นกรรมการได้ แต่ไม่ปรากฏว่ากระทรวงแรงงานได้ดำเนิน
การเพื่อส่งเสริมสิทธิแรงงานข้ามชาติในเรื่องดังกล่าว
ตัวอย่างข้อเรียกร้องของแรงงานข้ามชาติ บริษัท คิงส์ บอดี้ คอนเซ็ปท์ จำกัด อำเภอแม่สอด
จังหวัดตาก ซึ่งสะท้อนปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานที่มีนัยสำคัญ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
- ให้คืนบัตรอนุญาตทำงานให้คนงานเมื่อหักค่าใช้จ่ายบัตรครบถ้วนแล้ว
- จ่ายค่าจ้างให้ตรงเวลา
๑๙๔ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 194 7/28/08 9:16:17 PM