Page 195 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 195
การละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ
- ต้องไม่หักเงินค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้าและค่าที่พัก
- ต้องจัดให้มีวันหยุดตามประเพณี
- ต้องจ่ายค่าจ้างตามกฎหมาย
- ต้องไม่บังคับทำงานล่วงเวลา
- ปรับปรุงที่ทำงานให้สะอาดถูกสุขลักษณะ เนื่องจากมีกลิ่นเหม็นมาก
- ให้มีการรักษาความปลอดภัยในโรงงาน เพราะโรงงานอยู่กลางทุ่งนาและไม่มีรั้วกั้น
- ให้คนงานมีตัวแทนเพื่อเจรจาปัญหากับนายจ้าง
- เลิกบังคับคนงานให้ข้อมูลที่เป็นเท็จต่อเจ้าหน้าที่ว่าได้รับค่าจ้างตามกฎหมายวันละ ๑๓๓ บาทแล้ว
อย่างไรก็ตาม เป็นความจริงที่ว่า แรงงานเหล่านี้เมื่อไม่ได้รับการตอบสนองจากนายจ้างหรือไม่
ได้สิทธิตามที่เรียกร้อง ก็มักจะไม่ยอมเข้าทำงานหรือขอกลับภูมิลำเนา เนื่องจากอยู่ในสภาพที่กดดัน
และไม่รู้ขั้นตอนของกฎหมาย รวมทั้งมีปัญหาการสื่อสาร
๒.๕ การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
(๑) ประเด็นการขึ้นบัญชีดำลูกจ้างที่เป็นแกนนำในการเจรจาต่อรองหรือเรียกร้องสิทธิตาม
กฎหมาย เห็นว่า เป็นเรื่องที่ลูกจ้างอ้างว่า บริษัท นำเจริญ นิตติ้ง จำกัด ตั้งอยู่ที่อำเภอแม่สอดจังหวัด
ตาก ได้ขึ้นบัญชีดำผู้ร้อง แต่นายจ้างปฏิเสธ (คงไม่มีนายจ้างคนใดยอมรับ แม้มีการกระทำจริง) เรื่องดัง
กล่าวจึงเป็นเรื่องที่พิสูจน์หรือหาพยานหลักฐานได้ยาก จึงไม่สามารถที่จะสรุปได้ว่ามีการขึ้นบัญชีดำจริง
หรือไม่
(๒) สภาอุตสาหกรรมจังหวัดตากได้ออกหนังสือแจ้งสมาชิกว่า ให้ทำการตรวจสอบแรงงาน
ข้ามชาติเนื่องจากแรงงานอาจจะมาสมัครงานหรือเข้ามาในบริเวณโรงงาน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการมาสร้าง
ปัญหาให้กับโรงงานต่อไป การดำเนินการดังกล่าวทำให้แรงงานข้ามชาติถูกรังเกียจ และหางานทำได้ยาก
การออกหนังสือในลักษณะดังกล่าว เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่จากการหารือร่วมกับ
คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานแล้ว ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตากรับที่จะไปแก้ไข และ
จะแจ้งสมาชิกว่า การกระทำเช่นนี้อาจละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติได้ (รายงานผลการตรวจสอบที่
๘๖/๒๕๕๐)
๒.๖ การอ้างความมั่นคง และหนังสือเวียนจังหวัดออกประกาศ ลิดรอนสิทธิมนุษยชน
คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กับพวกรวม ๑๐ องค์กร ได้ร้องเรียนต่อคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เมื่อลงวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ว่าจังหวัดภูเก็ต จังหวัดระยอง จังหวัด
ระนอง จังหวัดพังงา และต่อมามีหนังสือเวียนของจังหวัด สมุทรสาคร ได้ออกประกาศอันเป็นจำกัด
และละเมิดสิทธิเสรีภาพของแรงงานข้ามชาติ สัญชาติพม่า กัมพูชา และลาว
โดยสาระสำคัญไม่แตกต่างกันมากนัก สรุปได้ดังนี้
ในขณะทำงาน แรงงานต่างด้าวต้องมีใบอนุญาตทำงานหรือใบแทนใบอนุญาตทำงานหรือ
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๑๙๕
Master 2 anu .indd 195 7/28/08 9:16:19 PM