Page 192 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 192

๘
        บทที่






                    อย่างไรก็ตาม นายจ้างได้อุทธรณ์คำสั่งเจ้าหน้าที่ โดยอ้างว่าลูกเรือมิได้ประสบอันตรายหรือ
              เจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน
              	     แต่ทั้งระดับจังหวัดสมุทรสาครและระดับชาติ ยังไม่มีนโยบายหรือแนวทางที่ชัดเจนเกี่ยวกับ
              การจ้างแรงงานข้ามชาติในกิจการประมงทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยต้องการแรงงานข้ามชาติ
              ในกิจการดังกล่าวจำนวนเท่าใด จะมีระบบในการบริหารจัดการเพื่อป้องกันมิให้เกิดการจ้างงานโดยผิด
              กฎหมายหรือโดยทุจริตได้อย่างไร จะบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประสิทธิภาพในการตรวจ
              สอบได้อย่างไร  และจะต้องมีแนวทางในเรื่องของทักษะฝีมือและระบบการคุ้มครองสุขภาพและ
              ความปลอดภัยในการทำงานได้อย่างไร เนื่องจากกิจการประมงทะเลเป็นงานที่เสี่ยงอันตรายอย่างยิ่ง
              (ดูภาคผนวก ๑ - รายงานผลการตรวจสอบที่ ๔๖/๒๕๕๑ กรณีเรือประภาสนาวี)


              	     ๒.๓  การละเมิดสิทธิด้านกองทุนเงินทดแทน

                    พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗ ไม่มีข้อยกเว้นการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ แต่ยังมี
              ปัญหาจากแนวทางปฏิบัติของสำนักงานประกันสังคม ที่ก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิหรือเลือกปฏิบัติโดย
              ไม่เป็นธรรมต่อแรงงานข้ามชาติ
                    กรณีตัวอย่างคือ นางหนุ่ม ไหมแสง อายุ ๓๖ ปี เป็นแรงงานเชื้อสายไทยใหญ่ จากรัฐฉาน

              ประเทศพม่า มีใบอนุญาตทำงานในกิจการก่อสร้างโรงแรมแชงกรีล่า จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีบริษัท
              หวูฮัป (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับจ้าง มีทั้งบริษัทและบุคคลอื่น ๆ เป็นผู้รับเหมาช่วง โดยนายจ้าง
              ของนางหนุ่มเป็นบุคคล
                    วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๙ นางหนุ่มทำงานก่อสร้างอยู่ชั้น ๒ แบบเทปูนขนาดใหญ่ตกลงจากชั้น
              ๑๒ จนได้รับบาดเจ็บสาหัส ต้องอยู่โรงพยาบาลถึง ๑๑ เดือนโดยใช้สิทธิการรักษาจาก บัตรประกัน
              สุขภาพของแรงงานข้ามชาติ สุดท้ายขาสองข้างเป็นอันพาต ต้องใช้รถเข็น
                    นางหนุ่มฯ และสามียื่นเรื่องต่อสำนักงานประกันสังคมจังหวัดเชียงใหม่ ขอรับเงินจากกองทุน
              เงินทดแทนโดยขอรับเป็นเงินก้อน ตอนแรกเจ้าหน้าที่จะไม่รับเรื่อง อ้างว่าแรงงานข้ามชาติไม่มีสิทธิ
              แต่ในที่สุด มีการอ้างถึงหนังสือสำนักงานประกันสังคม ที่ รส. ๐๗๑๑/๗๕๑ ลงวันที่ ๒๕ ตุลาคม

              ๒๕๔๔ ว่าแรงงานข้ามชาติมีสิทธิได้รับกองทุนเงินทดแทน แต่มีข้อจำกัดว่า กองทุนเงินทดแทนจ่ายให้
              ไม่ได้ ต้องให้นายจ้างเป็นผู้จ่าย เพราะในหนังสือสำนักงานประกันสังคมดังกล่าวระบุว่า
                    ๑.  ลูกจ้างต้องมีการจดทะเบียน  และมีใบอนุญาตทำงาน  (Work  pernit)  ประกอบกับ
              หนังสือเดินทาง (Passport) หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
                    ๒.นายจ้างจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ในอัตราไม่ต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ
                    ถ้าไม่มีหลักฐานดังกล่าว นายจ้างต้องเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายเงินทดแทน
              สำนักงานประกันสังคมจังหวัดเชียงใหม่จึงมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามจริงไม่เกิน

              ๓๕,๐๐๐ บาท และค่าทดแทนรายเดือน ๆ ละ ๒,๒๑๘ บาท เป็นเวลา ๑๕ ปี ตั้งแต่วันที่ ๑๑
              กรกฎาคม ๒๕๕๐
                    มูลนิธิสิทธิมนุษยชนเพื่อการพัฒนา จึงร้องเรียนมาที่ กสม. เดือน สิงหาคม ๒๕๕๐ และร่วม


        ๑๙๒  สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   192                                                                     7/28/08   9:15:43 PM
   187   188   189   190   191   192   193   194   195   196   197