Page 191 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 191
การละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ
นอกจากนี้ การรับลูกเรือนั้นตาม
ธรรมเนียมได้มอบหมายให้เป็นหน้าที่ของ
ไต้ก๋งเรือ นายจ้างจะไม่ทราบว่าใครเป็นลูก
เรือบ้าง หากนายจ้างได้รับการยืนยันจาก
ไต้ก๋งว่าบุคคลดังกล่าวเป็นลูกเรือประภาส
นาวีจริง จะได้นัดหมายให้มาตกลงกันที่
สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
จังหวัดสมุทรสาคร แต่ในที่สุดนายจ้างกับ
ปฏิเสธในการเจรจาและให้ฝ่ายที่อ้างว่าได้รับ
ความเสียหายหรือถูกละเมิดไปใช้สิทธิทางศาล
๕. คำชี้แจงจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
(๑) ด่านตรวจคนเข้าเมืองสมุทรสาคร
กรณีลูกเรือประภาสนาวีทั้ง ๖ ลำ เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองสมุทรสาครไม่พบแบบรายการ
เพื่อเดินทางออกนอกราชอาณาจักรแต่อย่างใด จึงไม่มีการตรวจสอบพาหนะและคนประจำเรือ
เจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองสมุทรสาครยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการร้องเรียนที่ว่าลูกเรือประภาสนาวี
เป็นแรงงานต่างด้าว(แรงงานข้ามชาติ) และเป็นบุคคลเดียวกันกับที่อ้างในการร้องเรียนนี้หรือไม่
หากปรากฏว่าเป็นแรงงานต่างด้าวเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายจริง พนักงานสอบสวนจะต้องสอบสวน
และดำเนินคดีทั้งลูกเรือและนายจ้าง
กรณีเรือประมงทะเลในราชอาณาจักร ไม่ต้องยื่นแบบรายการต่อด่านตรวจคนเข้าเมือง
เจ้าหน้าที่จึงไม่ต้องตรวจพาหนะเข้าออกจากเขตท่า ซึ่งเรือดังกล่าวอาจลักลอบเดินทางเข้าออก
ราชอาณาจักรเมื่อใดก็ได้ทุกพื้นที่เขตน่านน้ำไทย โดยจะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจน้ำและกองทัพเรือทำหน้าที่
ลาดตระเวนและตรวจสอบการกระทำผิดดังกล่าว
(๒) สถานีตำรวจน้ำ ๔ กองกำกับการ ๔ กองบังคับการตำรวจน้ำ จังหวัดสมุทรสาคร
กรณีเรือประภาสนาวี ตามหลักฐานการแจ้งเรือเข้าเมืองท่า ท.๓๐ กรมการขนส่งทางน้ำและ
พาณิชย์นาวี สาขาสมุทรสาคร ระบุว่าเรือถึงเมืองท่าสมุทรสาคร เมื่อวันที่ ๓-๔ กรกฎาคม ๒๕๔๙
ในช่วงเวลาที่เรือประภาสนาวีเข้าเมืองท่าสมุทรสาครนั้น ทางหน่วยงานตำรวจน้ำไม่ได้รับแจ้งข้อมูล
เรื่องเรือเข้าเมืองท่าสมุทรสาคร จึงไม่มีการตรวจสอบเรือดังกล่าว ประกอบกับเจ้าหน้าที่ต้องลาด
ตระเวนทั้ง ๓ จังหวัดดังกล่าว จึงอาจเป็นสาเหตุให้คลาดการตรวจลาดตระเวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจน้ำได้
(๓) สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาคร
เจ้าหน้าที่ได้ออกคำสั่งที่ ๑/๒๕๔๙ ลงวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๙ ให้นายจ้างจ่ายเงินทดแทน
แก่ผู้มีสิทธิ์ กรณีการเสียชีวิตของลูกเรือประภาสนาวี เป็นค่าจัดการศพ จำนวน ๑๘,๔๐๐ บาท
และค่าทดแทน จำนวน ๓๙๑,๖๘๐ บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น จำนวน ๔๑๐,๐๘๐ บาท โดยวินิจฉัยว่า
ลูกจ้างประสบอันตรายถึงแก่ชีวิตเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง ทั้งนี้ตามสำเนาเวชระเบียน
และความเห็นแพทย์ ระบุว่า ผู้ตายมีอาการโรคหัวใจล้มเหลวจากการขาดวิตามิน บี ๑ ซึ่งเกิดจาก
การไม่ได้รับประทานผัก ผลไม้ เนื้อหมู ไข่หรือสารอาหารประเภทอื่นติดต่อกันเป็นเวลาหลายเดือน
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๑๙๑
Master 2 anu .indd 191 7/28/08 9:15:41 PM