Page 189 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 189
การละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ
เรือประภาสนาวีที่ไปทำงานที่ประเทศอินโดนีเซียเป็นเรือลากคู่ ส่วนใหญ่จะจับปลาทู ใช้เวลา
ในการหาปลาคราวหนึ่ง ประมาณ ๔๕ วันโดยไม่มีวันพัก เมื่อถึงกำหนดจะกลับเข้าเกาะวานัม
เพื่อขนปลาขึ้นเรือแม่ ในช่วงนี้ประมาณ ๑ สัปดาห์จะให้แรงงานได้พัก และเพื่อเตรียมวัตถุดิบและ
สิ่งของที่จำเป็นในเรือ ตลอดจนซ่อมแซมเรือให้มีความพร้อมในการออกทะเลต่อไป
๒. กรณีลูกเรือเสียชีวิตและเจ็บป่วย
(๑) ลูกเรือที่เสียชีวิต จำนวนทั้งสิ้น ๓๙ คน จำแนกได้ดังนี้
สัญชาติพม่า เชื้อชาติพม่า จำนวน ๗ คน สัญชาติพม่า เชื้อชาติมอญ จำนวน ๒๒ คน
สัญชาติพม่า เชื้อชาติกะเหรี่ยง จำนวน ๑ คน สัญชาติไทย เชื้อชาติไทย (ยังไม่มีญาติผู้เสียชีวิต
มาร้องแทน) จำนวน ๙ คน
ลูกเรือที่เสียชีวิตถูกฝังที่ประเทศอินโดนีเซีย จำนวน ๒ ศพ เสียชีวิตระหว่างรอสัมปทานและ
เดินทางกลับ จำนวน ๓๖ คน เสียชีวิตเมื่อกลับมาถึงฝั่งแล้ว จำนวน ๑ คน
(๒) ลูกเรือที่เจ็บป่วยจนไม่สามารถดำเนินชีวิต และประกอบอาชีพตามปกติได้ เชื้อชาติมอญ
จำนวน ๓ คน
นอกจากนี้ ลูกเรือทั้งหมดยังไม่ได้รับค่าจ้างเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๒ ปี มีลูกเรือจำนวน ๔ คน
เป็นเด็กชายอายุไม่เกิน ๑๖ปี ถูกหลอกลวงให้มาทำงานในเรือ ลูกเรือชาวพม่าส่วนใหญ่ไม่มีเอกสาร
“คนประจำเรือ” ตามกฎหมาย จึงถูกสวมชื่อเป็นคนไทย เพื่อให้สามารถทำงานบนเรือประมงได้มี
แรงงานสัญชาติพม่าที่ไม่มีเอกสารการทำงานถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดีในข้อหาหลบหนีเข้าเมือง
โดยผิดกฎหมาย
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๑๘๙
Master 2 anu .indd 189 7/28/08 9:15:21 PM