Page 187 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 187
การละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ
เมื่อมีคำร้องคล้ายกันต่อมาจากจังหวัดสมุทรสาคร
มีผลให้เกิดการประสานกับคณะอนุกรรมการฯ จน
สามารถให้หานายจ้างใหม่ได้ที่จังหวัดนครปฐม โดยไม่
ถูกส่งกลับ (คำร้องที่ ๕๑๘/๒๕๔๘ นางสาวปรานม
สมวงศ์ (มูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ของ
แรงงานกลุ่มชาติพันธุ์) ผู้ร้อง บริษัท ทออวนเดชา
พานิช จำกัด และจังหวัดขอนแก่น ผู้ถูกร้อง)
(๔) การทารุณแรงงานพม่า รวมทั้งแรงงานเด็ก
กรณีนายจ้างในกิจการผลิต จำหน่ายและแปรรูป
ผลผลิตจากสัตว์น้ำเกี่ยวกับประมงทะเล มีลูกจ้างเป็น
ช
ชาวพม่าทั้งหมดจำนวน ๕๑๖ คน (ชาย ๑๕๑ หญิง ๓๖๕ คน) ตั้งสถานประกอบการอยู่ที่ตำบลาวพม่าทั้งหมดจำนวน ๕๑๖ คน (ชาย ๑๕๑ หญิง ๓๖๕ คน) ตั้งสถานประกอบการอยู่ที่ตำบล
หนองบัว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร
เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๔๙ เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ เช่น สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
เจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงาน และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้เข้าตรวจสอบ
โรงงานดังกล่าว โดยมีเจ้าหน้าที่สถานทูตอเมริกา องค์กรพัฒนาเอกชน เช่น มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก
และเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN) เข้าร่วมสังเกตการณ์ด้วย พบว่านำแรงงานเด็กและ
แรงงานผิดกฎหมายกักไว้บนฝ้าของโรงงาน
จากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร
พบว่า นายจ้างฝ่าฝืนพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ในเรื่องสำคัญรวม ๘ ข้อ
กล่าวคือ (๑) ไม่จัดวันหยุดประจำสัปดาห์ (๒) ไม่กำหนดวันหยุดประเพณี (๓) ไม่กำหนดวันหยุดพัก
ผ่อนประจำปี (๔) จ้างเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี (๕) ไม่แจ้งการจ้างลูกจ้างเด็กต่อพนักงานตรวจแรงงาน
(๖) ไม่ทำข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน (๗) ไม่ทำทะเบียนลูกจ้าง และ(๘) ไม่ทำเอกสารเกี่ยวกับการ
จ่ายค่าจ้าง จึงมีการดำเนินคดีอาญากับนายจ้าง
จังหวัดสมุทรสาครได้เปรียบเทียบปรับนายจ้างตามที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
จังหวัดสมุทรสาครเสนอตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๕๙ รวม
ค่าปรับบริษัท ฯ และกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน เป็นเงิน ๖๘,๐๐๐ บาท คดีอาญาจึงเป็น
อันเลิกกันตามกฎหมาย
แต่จากการตรวจสอบพบว่า นายจ้างมีพฤติการณ์การบังคับใช้แรงงาน ลูกจ้างต้องทำงานอย่าง
หนักและไม่มีเสรีภาพในการเดินทางออกนอกสถานประกอบการ เพราะนายจ้างให้อยู่แต่ในโรงงาน
และหอพัก ลูกจ้างอ้างว่ายังไม่ได้รับค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดตามกฎหมาย แต่
ไม่มีการตรวจสอบในประเด็นนี้จากพนักงานตรวจแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร ทั้งนี้ มีการนำแรงงาน
เด็กและหญิงบางส่วนที่สมัครใจไปอยู่บ้านพักของรัฐ เพื่อดำเนินคดีให้ผู้เสียหาย แต่แรงงานชาย
ต้องส่งกลับพม่า ทั้งที่เป็นเหยื่อผู้เสียหายเช่นกัน
ส่วนเรื่องการหน่วงเหนี่ยวกักขังลูกจ้างนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอบ้านแพ้ว
ชี้แจงว่า เป็นความผิดอาญาต่อส่วนตัว ยังไม่มีผู้ใดร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญา เจ้าหน้าที่ตำรวจจึง
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๑๘๗
Master 2 anu .indd 187 7/28/08 9:14:53 PM