Page 188 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 188
๘
บทที่
ไม่อาจสอบสวนได้ (เรื่องร้องเรียนที่๔๕๒/๒๕๔๙ กรณี เครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน
(LPN) ผู้ร้อง บริษัท รัญญาแพ้วซีฟูด จำกัด ผู้ถูกร้อง)
๒.๒ การละเมิดสิทธิด้านสุขภาพ ความปลอดภัยในการทำงานและเงินทดแทน
สืบเนื่องจากนโยบายและมติของคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการใช้แรงงานข้ามชาติ ในประเด็นหลัก
ประกันสุขภาพนั้น ปรากฏว่า แรงงานข้ามชาติต้องเป็นฝ่ายรับภาระจ่ายเงินในส่วนนี้ คนละ ๑,๓๐๐
บาท ต่อปี ดังนั้นเมื่อแรงงานข้ามชาติเจ็บป่วยหรือประสบอันตรายไม่ว่าจะเกี่ยวกับการทำงานหรือไม่
ก็สามารถใช้บริการจากโรงพยาบาลได้
อย่างไรก็ตาม หลักประกันสุขภาพดังกล่าวไม่
ครอบคลุมเรื่องค่าทดแทนการขาดรายได้ในระหว่าง
พักรักษาตัว และค่าทดแทนกรณีสูญเสียอวัยวะหรือ
สูญเสียสมรรถภาพในการทำงาน พิการหรือทุพพล
ภาพ ซึ่งแรงงานข้ามชาติได้รับการคุ้มครองตามพระ
ราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗ ยกเว้นใน
กิจการที่กฎหมายไม่บังคับใช้ เช่น ลูกจ้างในงาน
บ้าน เป็นต้น แต่ในทางปฏิบัติแรงงานข้ามชาติเข้า
ไม่ถึงสิทธิตามกฎหมาย และเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมแต่ละจังหวัดมีแนวปฏิบัติในเรื่องนี้
แตกต่างกันมาก เช่น ที่จังหวัดสงขลาเจ้าหน้าที่แจ้งว่าลูกจ้างที่เป็นแรงงานข้ามชาติไม่มีสิทธิยื่นคำร้อง
ใด ๆ ในเรื่องเงินทดแทน
ในขณะที่บางจังหวัดก็รับคำร้องไว้ โดยเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบข้อเท็จจริงและออกคำสั่งให้นายจ้าง
จ่ายเงินทดแทน หากเข้าข่ายตามกฎหมาย หรือประสานงานกับนายจ้างมาเจรจาเพื่อให้การช่วยเหลือ
ลูกจ้าง นอกจากนี้แรงงานข้ามชาติที่ประสบอันตรายจากการทำงานในกิจการก่อสร้างประสบปัญหาใน
การเรียกร้องเงินทดแทนเป็นอันมาก เนื่องจากนายจ้างไม่ส่งเงินเข้ากองทุนเงินทดแทนและมีการจ้างเหมา
ช่วงที่ซับซ้อนมาก ลูกจ้างไม่รู้ว่าผู้ใดเป็นผู้รับเหมาช่วงและผู้รับเหมาชั้นต้นกรณีศึกษา
กรณีตัวอย่างนายจ้างกิจการประมงทะเลละเมิดสิทธิในชีวิตร่างกาย และสิทธิแรงงานของ
แรงงานข้ามชาติ และเจ้าหน้าที่ของรัฐบกพร่องต่อหน้าที่
จากประมวลและสังเคราะห์ ข้อมูลจากรายงานผลการตรวจสอบ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
๑. สภาพการจ้างและการทำงานของลูกเรือ
เรือประภาสนาวี ทั้ง ๖ ลำ เป็นเรือประมงที่ออกไปประกอบกิจการสัมปทานการจับสัตว์น้ำ
นอกน่านน้ำไทย โดยได้สัมปทานบริเวณหมู่เกาะวานัม ประเทศอินโดนีเชีย ซึ่งจะต้องขออนุญาต และ
ทำเอกสารของลูกเรือ (Seaman book) เดินทางออกจากประเทศไทยเพื่อไปรอเอกสารเกี่ยวกับการ
สัมปทานหรือที่เรียกกันว่า “ตั๋วหาปลา” เอกสารการเสียภาษีที่ประเทศสิงคโปร์ ก่อนจะเดินทางไป
ทำงานที่ประเทศอินโดนีเซีย
๑๘๘ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 188 7/28/08 9:15:09 PM