Page 186 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 186

๘
        บทที่






              (รายงานผลการตรวจสอบโดย กสม. (กรณีบริษัท นัท นิตติ้ง จำกัด บริษัท คิงส์ บอดี้ จำกัด
บริษัท
              ณ ศวรรษ แอพพาเรล จำกัด โรงงานศิริวัฒน์ การ์เม้นท์ และบริษัท ดี ตาร์ การ์เม้นท์ จำกัด ผู้ถูกร้อง)
              	     (๒) นายจ้างได้กระทำผิดกฎหมายแรงงานในเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิขั้นพื้นฐานเป็นส่วน
              ใหญ่  กล่าวคือ  ทำผิดในเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำ  ค่าล่วงเวลา  ค่าทำงานในวันหยุด  ไม่จัดวันหยุดตาม
              ประเพณี ไม่จัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ไม่จัดทำทะเบียนลูกจ้าง และไม่จัดทำทะเบียนการ
              จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่า
              ชดเชยตามกฎหมายแสดงให้เห็นว่านายจ้างใช้แรงงานข้ามชาติ  ทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิต
              และมีช่องทางให้ละเมิดพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยการ

              คุ้มครองสิทธิแรงงานขั้นพื้นฐาน  (กรณี บริษัท คิงส์ บอดี้ จำกัด โรงงาน ศิริวัฒน์ การ์เม้นท์
              และบริษัท นัท นิตติ้ง จำกัด)
                    สถานการณ์ดังกล่าวบ่งชี้ให้เห็นว่า  กระทรวงแรงงานซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการบริหาร
              และการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ ยังขาดมาตรการการ
              บริหารและการบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพ  และวิธีการตรวจสอบโดยการส่งเจ้าหน้าที่ไป
              ตรวจสอบที่โรงงานเพียงอย่างเดียว น่าจะไม่เพียงพอและไม่อาจแก้ไขปัญหาได้ทัน
                    กลุ่มแรงงานข้ามชาติชาวพม่ามีข้อจำกัดที่เป็นลักษณะเฉพาะ กล่าวคือ การย้ายถิ่นจำนวน
              ไม่น้อยมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางการเมือง การคุ้มครองดูแลแรงงานดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัย

              ความร่วมมือของรัฐบาลพม่าด้วย ซึ่งยังมีอุปสรรคหลายประการ
                    กลุ่มแรงงานข้ามชาติไม่มีความรู้ทางกฎหมายและระเบียบปฏิบัติของไทย  เพราะขาดการ
              เตรียมความพร้อมก่อนเดินทาง และส่วนใหญ่เข้าประเทศไทยโดยผิดกฎหมาย
              	     (๓) การส่งกลับประเทศเมื่อมีการร้องขอค่าจ้างตามกฎหมาย ทั้งที่มีการขึ้นทะเบียนและ
              ข้ามเขตอย่างถูกกฎหมาย  เมื่อเดือนพฤศจิกายน  ๒๕๔๗  จัดหางานจังหวัดตากอนุญาตให้นำ
              แรงงานชาวพม่าที่ขึ้นทะเบียนที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ข้ามเขตมาทำงานที่ บริษัท ทออวนเดชา
              พานิช จำกัด จังหวัดขอนแก่น มีแรงงานทั้งสิ้น ๕๖๕ คน ต่อมาเดือนสิงหาคม ๒๕๔๘ แรงงาน
              ได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้าง รวม ๑๑ ข้อ ประเด็นที่สำคัญคือ ให้ลดชั่วโมงทำงานจากวันละ ๑๒
              ชั่วโมง เป็น ๙.๕ ชั่วโมง ขอให้เพิ่มค่าจ้าง และให้จัดสวัสดิการต่าง ๆ พนักงานตรวจแรงงานได้เข้าไป

              เจรจาไกล่เกลี่ย  กำลังรอทำบันทึกข้อตกลง  แต่เหตุการณ์ที่ทำให้ทั้งนายจ้างและแรงงานมีความ
              หวาดระแวงต่อกัน กล่าวคือ เมื่อรถรับส่งมารับคนงานล่าช้า ๓๐ นาที คนงานจากโรงงานจึงเดินทาง
              กลับที่พัก  ขณะที่คนงานจากที่พักเดินมาโรงงานเพราะกลัวทำงานไม่ทัน  นายจ้างอ้างว่าจะเกิด
              ความไม่สงบจึงแจ้งเจ้าหน้าที่มาดูแลและเลิกจ้างคนงาน ฝ่ายคนงานแจ้งว่าถูกส่งกลับประเทศโดย
              ไม่เป็นธรรม
                    จากข้อมูลของจังหวัดขอนแก่นระบุว่า เกรงจะเกิดปัญหาความไม่สงบ จึงใช้อำนาจของจังหวัด
              ส่งกลับที่แม่สอด ซึ่งตามกฎหมาย ลูกจ้างมีสิทธิหานายจ้างใหม่ภายใน ๗ วัน เมื่อถูกเลิกจ้างแต่การที่

              จังหวัดส่งกลับแม่สอดไม่สามารถหานายจ้างใหม่ที่จังหวัดขอนแก่นได้ และไม่มีโอกาสขอความเป็น
              ธรรมใดๆ ต้องถูกส่งกลับพม่าภายใน ๒-๓ วันทันที กรณีนี้คณะอนุกรรมการฯ ได้ท้วงติงและหารือ
              อย่างเร่งด่วนเชิงนโยบาย มีผลให้กระทรวงแรงงานมีหนังสือเวียนทุกจังหวัดให้เป็นกรณีศึกษา


        ๑๘๖  สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   186                                                                     7/28/08   9:14:39 PM
   181   182   183   184   185   186   187   188   189   190   191