Page 185 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 185

การละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ






































              	     นายจ้างจ่ายเงินสมทบในอัตราไม่ต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ ทั้งนี้แรงงานข้ามชาติที่จดทะเบียนจะต้อง

              ยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับประเทศไทย แต่กรณีที่แรงงานข้ามชาติประสบอันตราย
              หรือเสียชีวิตจากการทำงานแต่ไม่มีหลักฐานดังกล่าว  นายจ้างมีหน้าที่รับผิดชอบจ่ายเงินทดแทน
              แก่ลูกจ้างหรือทายาท
                    นอกจากนี้ ยังปรากฏว่าในกิจการหรืองานที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานของไทยให้การคุ้มครอง
              ค่อนข้างจำกัดหรือให้การคุ้มครองน้อยมาก กลับปรากฏว่ามีการจ้างแรงงานข้ามชาติเป็นจำนวนมาก
              เช่น งานบ้าน งานประมงทะเล งานเกษตรกรรม และงานที่รับไปทำที่บ้าน

                    ๒. สถานการณ์ปัญหาและรูปแบบการละเมิด


                    ในรอบ ๖ ปี ที่ผ่านมา มีเรื่องร้องเรียนต่อ กสม.ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ จำนวน ๑๙ เรื่อง
              พบว่ามีการละเมิดสิทธิในหลายมิติ จำแนกสาระสำคัญและกรณีตัวอย่างได้ดังนี้

              	     ๒.๑ การละเมิดด้านกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

                    (๑) มีการปฏิบัติของนายจ้างที่ไม่ชัดเจนในเรื่องการจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำ การจัดสวัสดิการ
              ด้านอาหารและที่พัก และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการขอใบอนุญาตทำงานโดยนายจ้างคิดค่าใช้จ่าย

              กับลูกจ้าง ทำให้เกิดความสับสนว่าเป็นสวัสดิการหรือไม่ ค่าใช้จ่ายในแต่ละรายการจำนวนเท่าใด
              และจะชำระเงินกันอย่างไร เนื่องจากคาบเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา
              ๗๖ ที่ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้างเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายบางอย่าง ยกเว้นที่กฎหมายอนุญาตให้หักได้เท่านั้น


                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๑๘๕





     Master 2 anu .indd   185                                                                     7/28/08   9:14:38 PM
   180   181   182   183   184   185   186   187   188   189   190