Page 184 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 184
๘
บทที่
แรงงานขั้นต่ำ ไม่ได้รับการคุ้มครองในเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน ไม่ได้ยึดถือบัตร
อนุญาตทำงาน จึงเข้าไม่ถึงสถานบริการพยาบาล ถูกจับกุมและส่งกลับประเทศต้นทาง เมื่อมีการ
เรียกร้องสิทธิตามกฎหมาย หรือมีข้อขัดแย้งทางด้านแรงงาน ตลอดจนเข้าไม่ถึงกระบวนการยุติธรรม
ของไทย
มติคณะรัฐมนตรีที่อนุญาตให้มีการจ้างแรงงาน ๓ สัญชาติ คราวละไม่เกินหนึ่งปี ก่อให้เกิด
ปัญหาทั้งในทางนโยบาย กฎหมายและมาตรการในการคุ้มครองนานัปการ
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ให้แรงงานข้ามชาติได้รับค่าจ้างเท่าเทียมคนงาน
ไทย แต่ยังมีปัญหาการบังคับใช้อย่างมาก
นอกจากนี้กฎหมายแรงงานหลายฉบับยังไม่คุ้มครองแรงงานกลุ่มนี้ อีกทั้งยังจำกัดสิทธิต่าง ๆ
หลายประการ เช่น
• พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ ห้ามมิให้แรงงานที่ไม่มีสัญชาติไทย จัดตั้งสหภาพ
แรงงานหรือเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน
• ระเบียบให้แรงงานข้ามชาติเปลี่ยนตัวนายจ้าง กรณีออกจากงานหรือถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด
ภายในเวลา ๗ วัน ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงและเป็นระเบียบที่ไม่เอื้อต่อการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ
• ในการบังคับใช้พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗ สำนักงานประกันสังคม
ได้ออกหนังสือเวียน* ไปยังหน่วยงานในสังกัด กรณีนายจ้างที่มีหน้าที่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุน
เงินทดแทน และแรงงานข้ามชาติมีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากกองทุนเงินทดแทนจะต้องมีหลักฐาน ดังนี้
(๑) มีการจดทะเบียนและมีใบอนุญาตทำงานประกอบกับหนังสือเดินทาง หรือใบสำคัญ
ประจำตัวคนต่างด้าว ...
* หนังสือสำนักงานประกันสังคม ที่ รส ๐๗๑๑/ว๗๕๑ ลงวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๔๔
๑๘๔ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 184 7/28/08 9:14:14 PM