Page 183 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 183
บทที่ ๘
การละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ
นบทนี้จะกล่าวเน้นเรื่องร้องเรียนการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ ที่อพยพเคลื่อนย้ายแรงงาน
ใมาจากประเทศพม่า กัมพูชาและลาว เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีพรมแดนติดต่อกับประเทศไทย
มีความสัมพันธ์มายาวนาน ซึ่งมีบทบาทต่อเศรษฐกิจและการจ้างงานของไทยเป็นอันมาก ตลอดจน
มีเรื่องร้องเรียนการละเมิดสิทธิเป็นจำนวนมาก มีสาระสำคัญ ดังนี้
๑. สถานการณ์แรงงานข้ามชาติในภาพรวม
ร้อยละ ๙๐ ของกลุ่มแรงงานข้ามชาติ ๓ สัญชาติเข้ามาทำงานในประเทศไทย โดยผ่าน
นายหน้าคนชาติเดียวกัน แต่แรงงานเหล่านี้มิได้มีหลักประกันว่าจะมีงานทำและถูกเรียกเก็บค่านายหน้า
ในอัตราที่สูงลดหลั่นกันตามสภาพ
ปี ๒๕๕๐ มีนายจ้างขึ้นทะเบียนแรงงานข้ามชาติ จำนวน ๑๕๕,๔๒๖ ราย แรงงาน
ได้รับอนุญาต ๕๓๒,๓๐๕ คน ขณะที่ตัวเลข
แรงงานที่มีการรายงานตัว เมื่อปี ๒๕๔๘ จำนวน
๑,๒๘๔,๙๒๐ คน ดังนั้นจึงมีการคาดการณ์กันว่ามี
แรงงาน ๓ สัญชาติ รวมกันไม่น้อยกว่า ๒-๓ ล้านคน
อยู่ในประเทศไทย
เนื่องจากแรงงานข้ามชาติเหล่านี้โดยส่วน
ใหญ่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย จึงมีความเสี่ยงแทบ
ทุกด้าน ทำงานหนักและงานอันตราย ไม่ได้รับสิทธิ
ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นมาตรฐาน
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๑๘๓
Master 2 anu .indd 183 7/28/08 9:13:37 PM