Page 182 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 182
๗ ๗ ๗
บทที่
บทที่
๑. ควรมีนโยบายที่ชัดเจนในเรื่องคนงานไทยไปทำงานต่างประเทศ ทั้งในส่วนที่เป็นแรงงาน
มีฝีมือและไร้ฝีมือ มีนโยบาย มาตรการทางกฎหมายและมาตรการทางบริหาร ทั้งในด้านการส่งเสริม
และพัฒนา เช่น การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงานและข้อมูลที่จำเป็น การพัฒนาทักษะฝีมือ
กองทุนเงินกู้เกี่ยวกับอาชีพ การฝึกสอนภาษา การดูแลช่วยเหลือครอบครัวของคนงานไทยในกรณีที่มี
ปัญหาที่ประเทศปลายทาง และการสานต่องานที่ทำในต่างประเทศหรือสร้างอาชีพรองรับเมื่อคนงาน
ไทยกลับประเทศ
๒. บริหารจัดการหน่วยงานรัฐและองค์กรชุมชนในลักษณะบูรณาการ และให้มีบทบาท
ในการปกป้องและคุ้มครองสิทธิของคนงานไทยไปทำงานต่างประเทศตั้งแต่ต้นทาง คือระดับชุมชน
เช่น การให้ความรู้ในข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นในเรื่องตำแหน่งงานหรือสภาพการจ้าง กฎหมายและ
ระเบียบที่เกี่ยวข้องของประเทศปลายทาง หน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ทั้งของไทยและต่างประเทศที่ให้
ความช่วยเหลือแก่คนงานไทย
๓. จัดสรรงบประมาณให้เพียงพอสำหรับหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ในการป้องกันหรือ
แก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งด้านแรงงานที่ประเทศปลายทาง
๔. จัดสรรงบประมาณให้เพียงพอเพื่อส่งเสริมหรือสนับสนุนองค์กรเอกชน หรือองค์กร
พัฒนาเอกชนที่มีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองหรือให้ความช่วยเหลือด้านแรงงาน หรือสิทธิมนุษยชน
แก่คนงานไทยที่ประเทศปลายทาง ตลอดจนการสร้างเครือข่ายเพื่อให้ความช่วยเหลือดังกล่าว
๕. ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้มีโทษและมาตรการการบังคับใช้ที่มีประสิทธิภาพในกรณีที่มีการ
หลอกลวงต้มตุ๋นคนงานไทยไปทำงานต่างประเทศ กรณีบริษัทจัดหางานหรือบุคคลใดหรือเจ้าหน้าที่
ของรัฐที่กระทำการโดยทุจริต เอาเปรียบคนงาน หรือมีการกระทำการเข้าข่ายการค้ามนุษย์ และให้
เป็นคดีที่มีลักษณะพิเศษโดยอยู่ในความรับผิดชอบของกรมสอบสวนคดีพิเศษ
๖. ร่วมมือกับประเทศปลายทางในการคุ้มครองแรงคนย้ายถิ่น รวมทั้งพัฒนาการคุ้มครอง
แรงงานย้ายถิ่นในประเทศไทยด้วย
๑๘๒ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 182 7/28/08 9:12:36 PM