Page 181 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 181

การละเมิดสิทธิแรงงานไทย
                                                                             ไปทำงานต่างประเทศ






              	     •	การคุ้มครองแรงงานไทยระหว่างทำงานในต่างประเทศ
                    ให้กระทรวงต่างประเทศ และสำนักงานแรงงานในต่างประเทศร่วมกันดำเนินตามมาตรการ ดังนี้
                    (๑) ควรจัดตั้งสำนักงานแรงงาน สถานกงสุล หรือสถานทูต ในทุกประเทศที่มีการจ้างแรงงาน
              ไทยเพื่อเป็นศูนย์การคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์ของคนไทย การเรียนรู้และการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
              โดยมีเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาหรือช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาต่าง ๆ อาทิ ด้านภาษาต่างประเทศ กฎหมาย
              วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศนั้นๆ ตลอดจนการส่งเสริมให้มีการร่วมกลุ่มเครือข่าย
              แรงงานไทยในแต่ละประเทศ เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือคนงานไทยได้ทันท่วงที
                    นอกจากนี้ควรสนับสนุนให้มีศูนย์การศึกษาทางไกล เพื่อให้แรงงานไทยมีโอกาสยกระดับการ
              ศึกษาและพัฒนาทักษะในการทำงาน

              	     (๒) ดำเนินการให้คนทำงานได้รับความคุ้มครองสิทธิประโยชน์ตามสัญญาจ้าง และกฎหมาย
              แรงงานของประเทศที่เข้าไปทำงาน และไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง
                    (๓) ขยายการคุ้มครองของ “กองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ” ให้
              สามารถช่วยเหลือคุ้มครองโดยคำนึงถึงสิทธิประโยชน์ของแรงงาน อาทิ การว่าจ้างทนายความเพื่อ
              ช่วยแก้ไขปัญหาหรือการดำเนินคดี และควรให้สำนักงานแรงงาน สถานกงสุล หรือสถานทูตมีอำนาจ
              ใช้เงินกองทุนฯ ได้ตามความจำเป็นในการให้ความช่วยเหลือคนทำงาน


              	     •	การช่วยเหลือแรงงานไทยเมื่อเดินทางกลับประเทศไทย
                    (๑) จัดทำระบบฐานข้อมูลแรงงานที่กลับจากต่างประเทศ เช่น จัดทำทะเบียนประวัติแรงงาน
              ที่กลับจากต่างประเทศ อาทิ ชื่อ ที่อยู่ ทักษะและประสบการณ์ที่ได้จากการทำงานในต่างประเทศ
              ความต้องการการช่วยเหลือ  งานหรืออาชีพที่คาดว่าจะกลับมาทำ  และการจัดหาแหล่งเงินทุน
              หรือสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพ
                    (๒)  ส่งเสริมให้แรงงานที่กลับจากต่างประเทศนำความรู้และทักษะฝีมือที่ได้รับจากการไป
              ทำงานต่างประเทศมาเทียบโอนหรือเทียบระดับ เพื่อรับรองคุณวุฒิทางการศึกษาและคุณวุฒิวิชาชีพ
              ในระดับที่สูงขึ้น
                    (๓) ส่งเสริมให้แรงงานที่กลับจากต่างประเทศได้มีโอกาสเป็นวิทยากรเพื่อให้ข้อมูลประสบการณ์

              การไปทำงานต่างประเทศ แก่ชุมชน และผู้ที่ประสงค์จะไปทำงานต่างประเทศ

              ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                    เนื่องจากกรณีคนงานไทยไปทำงานในต่างประเทศถูกละเมิดสิทธิหรือถูกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
              จนได้รับความเดือดร้อนนั้น  มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย  เช่น  ความต้องการแรงงานของประเทศ
              ปลายทาง  ความต้องการรายได้ของคนงานไทย  ผลประโยชน์ของธุรกิจจัดหางาน  ผู้เกี่ยวข้องกับ
              กระบวนการค้ามนุษย์ และค่านิยมการทำงานต่างประเทศ

                    แนวทางและมาตรการในการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาจึงต้องดำเนินการทั้งในระดับชุมชน
              ซึ่งเป็นต้นทางของการไปทำงานต่างประเทศ ระดับชาติและระดับระหว่างประเทศ คณะอนุกรรมการ
              สิทธิแรงงานจึงมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ดังนี้


                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๑๘๑





     Master 2 anu .indd   181                                                                     7/28/08   9:12:15 PM
   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186