Page 180 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 180
๗
บทที่
(๕) ให้มีการปรับปรุงการพัฒนาความพร้อมแก่แรงงานก่อนไปทำงานในต่างประเทศ โดยเน้น
คุณภาพและขยายระยะเวลาการฝึกอบรมแรงงานก่อนที่จะเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ เกี่ยวกับ
สัญญาจัดจ้างงาน สิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่พึงได้รับ กฎหมายหรือขนบธรรมเนียมประเพณี และควรมี
การประเมินผลการฝึกอบรมของแรงงานก่อนเดินทางไปทำงานต่างประเทศ
(๖) ให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและกรมการจัดหางานร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด และเพิ่ม
ความเข้มงวดในการตรวจสอบหนังสือเดินทางของผู้ที่ประสงค์จะเดินทางไปทำงานต่างประเทศ ผู้ที่
ลักลอบไปทำงาน ขบวนการค้ามนุษย์ หรือขบวนการค้าประเวณี และให้ลงโทษผู้กระทำความผิดใน
อัตราโทษสูงสุดตามกฎหมาย โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐที่รู้เห็นเป็นใจ และควรให้มีเจ้าหน้าที่
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีส่วนร่วมด้วย
(๗) ควรจัดกิจกรรมและโครงการร่วมในการคุ้มครองแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศระหว่าง
หน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สถาบันเอเชียศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรมการจัดหางาน กรมการกงสุล สถาบันการศึกษา องค์กรพัฒนาเอกชน
ในการนำความรู้สู่ประชาชนในพื้นที่ชนบท
(๘) รัฐควรสนับสนุนแหล่งเงินกู้ สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หรือกองทุนสำหรับการกู้ยืมเพื่อเดินทางไป
ทำงานต่างประเทศ
๑๘๐ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 180 7/28/08 9:12:13 PM