Page 179 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 179
การละเมิดสิทธิแรงงานไทย
ไปทำงานต่างประเทศ
มาตรการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ
• กรณีก่อนเดินทางไปทำงานต่างประเทศ
(๑) ให้มีนโยบายแก้ไขปัญหาการหลอกลวงแรงงานไทยไปทำงานในต่างประเทศโดยเร่งด่วน
การกำหนดค่าใช้จ่ายและค่าบริการที่เหมาะสมและเป็นธรรม ทั้งนี้จะต้องบูรณาการหน่วยงานของรัฐ
และภาคประชาชน
(๒) ควรปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ. ๒๕๒๘ และ
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะบริษัท
จัดหางานและสายหรือนายหน้าที่เป็นต้นเหตุของการหลอกลวงแรงงาน เพิ่มบทลงโทษให้เหมาะสม
และบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ตลอดจนการจัดการควบคุมบริษัทจัดหางานและสายหรือนายหน้า
อย่างเป็นระบบ
สำหรับมาตรการควบคุมสาย นายหน้าเถื่อน หรือบริษัทจัดหางาน หากคนงานเสียหายตั้งแต่
๑๐ คนขึ้นไปหรือค่าเสียหายเกินจำนวน ๑ ล้าน หรือกระทำกันเป็นขบวนการ ซึ่งเป็นการกระทำ
ผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.๒๕๒๘ และแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ
ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ หรือความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวล
กฎหมายอาญา ควรดำเนินคดีตามกฎหมายและบทที่มีโทษสูงสุด
(๓) การส่งเสริมและพัฒนาบริการของบริษัทจัดหางานที่จัดส่งแรงงานไปทำงานต่างประเทศ
ให้มีบริการที่ได้มาตรฐาน และปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม รวมทั้งเพิ่มวงเงิน
ประกันหรือหลักทรัพย์ที่ผู้รับอนุญาตจัดหางานวางไว้ให้สูงขึ้น จาก ๕ ล้านบาท เป็น ๑๐ ล้านบาท
เพื่อเป็นหลักประกันกรณีที่บริษัทจัดหางานกระทำผิดกฎหมาย ต้องหักหลักประกันเฉลี่ยคืนให้กับ
คนงาน
(๔) จัดตั้งและส่งเสริมเครือข่ายหมู่บ้านชุมชน โดยให้องค์กรปกครองท้องถิ่น ผู้นำชุมชน
อาสาสมัคร และผู้ที่สนใจไปทำงานต่างประเทศ มีส่วนร่วมในการสอดส่องดูแล เพื่อร่วมกันป้องกัน
และปราบปรามขบวนการหลอกลวงแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๑๗๙
Master 2 anu .indd 179 7/28/08 9:11:51 PM