Page 178 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 178
๗
บทที่
(๓) ควรประสานความร่วมมือระหว่างด่านตรวจคนเข้าเมือง(สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง) และ
ด่านตรวจคนหางาน(กรมการจัดหางาน) ในการตรวจสอบผู้ที่เดินทางออกราชอาณาจักร
โดยผิดกฎหมาย ขบวนการค้ามนุษย์ หรือการไปค้าประเวณี และให้ลงโทษผู้กระทำความผิดในอัตราโทษ
สูงสุดตามกฎหมาย โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐที่รู้เห็นเป็นใจ และควรให้มีเจ้าหน้าที่กระทรวงพัฒนา
สังคมและความมั่นคงมนุษย์ปฏิบัติงานร่วมด้วย
(๔) ผู้ที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศส่วนใหญ่จบการศึกษาภาคบังคับ เมื่อกลับจากทำงาน
ต่างประเทศไม่มีงานรองรับตามความรู้และทักษะของตนเอง จึงพยายามดิ้นรนที่จะกลับไปทำงาน
ต่างประเทศอีก หน่วยงานของรัฐควรมีมาตรการรองรับ และจัดหางานที่เหมาะสมตามความรู้และ
ประสบการณ์ให้แรงงานเหล่านี้
(๕) ควรจัดตั้งสถานกงสุล หรือสถานทูต ในทุกประเทศที่มีแรงงานทำงานเพื่อเป็นศูนย์การ
คุ้มครองและดูแลผลประโยชน์ของคนไทย และเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และข้อมูลข่าวสาร
(๖) โครงการขยายการศึกษาอบรมก่อนเดินทางไปต่างประเทศควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
(๗) ขอให้กรมการจัดหางานซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงาน
ต่างประเทศ ตรวจสอบระบบการจัดส่งแรงงานรัฐต่อรัฐ โดยเฉพาะกรณีประเทศเกาหลี เพื่อป้องกัน
ไม่ให้เอกชนนำไปแสวงหาผลประโยชน์จากคนหางาน
(๘) การใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานต่างประเทศ ให้คำนึงถึงประโยชน์
ที่คนหางานพึงได้รับและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
(๙) การดำเนินคดีผู้กระทำความผิดในคดีที่คนหางานได้รับความเสียหายมากกว่า ๑๐ คน
ไม่ควรแยกดำเนินคดี เพราะจะทำให้ผู้เสียหายไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยเฉพาะกรณีฉ้อโกง
ประชาชน เพราะที่ผ่านมายังพบผู้กระทำความผิดมีพฤติกรรมหลอกลวงคนหางานเช่นเดิม
(๑๐) ควรจัดกิจกรรมหรือโครงการร่วมในการคุ้มครองแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศระหว่าง
หน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สถาบันเอเชียศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรมการจัดหางาน กรมการกงสุล สถาบันการศึกษา องค์กรเอกชน ในการ
นำความรู้สู่ประชาชนในพื้นที่ชนบท
นอกจากนี้ในการจัดส่งแรงงานไทยไป
ทำงานต่างประเทศ รัฐไม่ควรเน้นแรงงาน
ประเภทกรรมกรเพียงอย่างเดียว รัฐควรให้
ความสำคัญการพัฒนาฝีมือแรงงาน และให้
ความสำคัญกับการจัดส่งแรงงานฝีมือระดับสูง
ไปทำงานต่างประเทศ ดังบางประเทศในเอเชีย
เช่น อินเดีย ที่ส่งออกแรงงานด้านคอมพิวเตอร์
เป็นจำนวนมาก ซึ่งเมื่อแรงงานเหล่านี้กลับ
ประเทศจะได้นำความรู้ทักษะ กลับมาพัฒนา
ประเทศต่อไป
๑๗๘ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 178 7/28/08 9:11:32 PM