Page 177 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 177

การละเมิดสิทธิแรงงานไทย
                                                                             ไปทำงานต่างประเทศ






                    (๔) แรงงานหญิงที่ไปทำงานบ้านมักได้รับความกดดัน และมักถูกนายจ้างทำร้ายทุบตี หรือ
              ลวนลามทางเพศ

              ค. เมื่อเดินทางกลับประเทศไทย
                    (๑) แรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศส่วนใหญ่จบการศึกษาภาคบังคับ เมื่อกลับจากทำงานต่าง
              ประเทศไม่มีงานรองรับตามความรู้และทักษะของตนเอง จึงพยายามดิ้นรนที่จะกลับไปทำงานต่าง
              ประเทศอีก  หน่วยงานของรัฐควรมีมาตรการรองรับ  และจัดหางานที่เหมาะสมตามความรู้และ
              ประสบการณ์ให้แรงงานเหล่านี้
                    (๒) หน่วยงานราชการ ไม่มีแผนงานรองรับแรงงานไทยที่มีประสบการณ์และทักษะจากต่าง

              ประเทศ เพื่อนำมาปรับใช้ในการประกอบอาชีพ หรือการพัฒนาประเทศ เช่น แรงงานภาคเกษตรจาก
              ประเทศอิสราเอล หรือสหรัฐอเมริกา
                    (๓) แรงงานเข้าไม่ถึงศูนย์ข้อมูลตลาดแรงงานในการทำงาน หรือการส่งเสริมอาชีพอิสระ

                    การดำเนินการแก้ไขปัญหาของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน

                    คณะอนุกรรมการ  ฯ  ได้จัดสัมมนา

              เชิงนโยบายเมื่อวันที่  ๒๘  เมษายน  ๒๕๔๘
              และวันที่  ๒๐  กรกฎาคม  ๒๕๕๐  ร่วมกับ
              กระทรวงการต่างประเทศ  กระทรวงแรงงาน
              กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
              สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
              องค์กรพัฒนาเอกชน  นักวิชาการ  บริษัท
              จัดหางาน สมาคมรวมใจไทย สมาคมสตรีไทย
              ฮ่องกง  แรงงานไทยที่กลับจากทำงานต่าง
              ประเทศ	และสื่อมวลชน ผลการสัมมนาได้มีข้อ

              เสนอแนะเชิงนโยบายต่อกระทรวงแรงงานสรุป
              ได้ ดังนี้
                    (๑) กลไกของรัฐไม่เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาการหลอกลวง และการคุ้มครองคนหางานไทยไป
              ทำงานต่างประเทศ โดยเฉพาะพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ ๒๕๒๘ (แก้ไข
              พ.ศ. ๒๕๓๗) ควรได้รับการแก้ไขปรับปรุง เพิ่มบทลงโทษต่อผู้กระทำผิด และการบังคับใช้กฎหมาย
              อย่างเคร่งครัด
                    (๒) ขาดการบูรณาการในการนำความรู้สู่ประชาชนระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการ

              จัดหางาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา องค์กรเอกชน เป็นต้น ให้ประชาชนได้มี
              ความรู้ความเข้าใจ การปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้อง  และการเตรียมความพร้อมก่อนตัดสินใจเดินทาง
              ไปทำงานต่างประเทศ


                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๑๗๗





     Master 2 anu .indd   177                                                                     7/28/08   9:11:17 PM
   172   173   174   175   176   177   178   179   180   181   182