Page 176 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 176

๗
        บทที่






                    ด้านหน่วยงานของรัฐ
                    (๑)  การฝึกอบรมคนงานก่อนเดินทางไปทำงานต่างประเทศ  เวลาในการอบรมก่อนเดินทาง
              มีจำกัด  ทำให้คนหางานได้รับประโยชน์จากการอบรมน้อย  โดยเฉพาะความรู้เกี่ยวกับภาษา
              วัฒนธรรม สิทธิประโยชน์ต่างๆ และกฎหมายของประเทศที่ตนเองไปทำงาน
                    (๒) ขาดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเครือข่าย ในการรณรงค์ และมี
              มาตราการเพื่อแก้ไขปัญหาการหลอกลวงไปทำงานต่างประเทศ และการค้ามนุษย์
                    (๓) ขาดการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อไปทำงานต่างประเทศอย่างจริงจัง ทำให้คนงานต้องกู้เงินจาก
              นายทุนนอกระบบในอัตราดอกเบี้ยที่สูง


              ข.ระหว่างทำงานในต่างประเทศ
              	     ด้านคนทำงาน
                    (๑) แรงงานไทยขาดความรู้ความเข้าใจด้านภาษา ขนบธรรมเนียม ประเพณี หรือกฎหมาย
              ของประเทศนั้นๆ บางส่วนประพฤติไม่อยู่ในกฎระเบียบ หรือกฎหมาย เช่น เล่นการพนัน ดื่มสุรา
              หรือก่อการทะเลาะวิวาท  หรือการหลบหนีนายจ้างไปทำงานกับนายจ้างรายอื่น ทำให้ถูกกล่าวหา
              สร้างความเสื่อมเสียภาพลักษณ์แรงงานไทยโดยรวม
                    (๒) ถูกเอาเปรียบจากนายจ้าง ได้รับสิทธิประโยชน์ สวัสดิการต่างๆ ไม่ตรงตามสัญญา หรือ

              ที่พักอาศัยไม่ถูกสุขลักษณะ ทำให้มีการหลบหนีนายจ้างไปทำงานกับนายจ้างรายอื่น
              	     ด้านหน่วยงานของรัฐ
                    (๑) กระทรวงแรงงาน กระทรวงการต่างประเทศ ไม่สามารถดูแลแรงงานไทยได้ทั่วถึง ประกอบ
              กับมีบุคลากรและงบประมาณจำนวนจำกัด  ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการคุ้มครองแรงงานไทย  กรณี
              ประสบปัญหา และต้องการความช่วยเหลือ
                    (๒) สำนักงานแรงงานไทยในต่างประเทศ มีไม่ครอบคลุมทุกประเทศที่แรงงานไทยไปทำงาน
              เมื่อเกิดปัญหาจึงไม่สามารถให้การช่วยเหลือในทันที
                    (๓) ขาดศูนย์การเรียนรู้ ข้อมูลข่าวสาร หรือศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนระหว่างคนงานด้วยกัน
              การพบปะเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือองค์กรพัฒนาเอกชน

              	     ด้านนายจ้าง
                    (๑) นายจ้างบางรายละเลย ไม่เอาใจใส่ข้อกำหนดในสัญญาจ้าง หรือเมื่อทำงานแล้วทำสัญญา
              ซ้อนอีกฉบับหนึ่ง จ่ายค่าจ้างล่าช้า หักเงินโดยไม่มีเหตุผล เลือกปฏิบัติโดยให้ประโยชน์เฉพาะแรงงาน
              สัญชาติของตน มีการมอบหมายงานไม่เท่าเทียมกัน ออกคำสั่งโดยแรงงานไทยไม่เข้าใจ และเมื่อ
              ไม่ปฏิบัติตามจึงถูกมองว่าคนทำงานมีเจตนาฝ่าฝืนระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้าง ถูกเลิกจ้างและ
              ส่งกลับโดยไม่เปิดโอกาสให้คนงานไทยเรียกร้องสิทธิ
                    (๒)  ขาดการเอาใจใส่เรื่องสวัสดิการและความเป็นอยู่ของคนงาน  หรือผู้ที่ประสบภัย  หรือ

              เสียชีวิตจากการทำงาน
                    (๓) การจำกัดสิทธิ เสรีภาพ ด้านต่าง ๆ เช่น การห้ามใช้โทรศัพท์มือถือ และการกักบริเวณ
              ภายในที่พักอาศัย


        ๑๗๖  สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   176                                                                     7/28/08   9:11:03 PM
   171   172   173   174   175   176   177   178   179   180   181