Page 175 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 175
การละเมิดสิทธิแรงงานไทย
ไปทำงานต่างประเทศ
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีการละเมิดสิทธิแรงงาน
จากการตรวจสอบเรื่องร้องเรียน และสัมมนาร่วมกับงานทั้งของรัฐและเอกชน พบว่ามีปัจจัยการถูก
ละเมิด ทั้งจากคนงานเอง บริษัทจัดหางานสายหรือนายหน้า รวมถึงหน่วยงานของรัฐ มีการละเมิดตั้งแต่ก่อน
เดินทางไปทำงาน ระหว่างทำงานในต่างประเทศ และเมื่อเดินทางกลับประเทศไทยแล้ว มีสาระสำคัญ ดังนี้
ก. ก่อนเดินทางไปทำงานต่างประเทศ
ด้านคนทำงาน
(๑) ความด้อยโอกาสทางการศึกษา ความไม่รู้หนังสือของคนงาน ซึ่งส่วนใหญ่มีความรู้เพียง
การศึกษาภาคบังคับ เมื่อเกิดปัญหาคนงานมักจะเสียเปรียบ
(๒) หลงเชื่อคำพูดของผู้ที่หลอกลวง เชื่อเพื่อนหรือคนรู้จักหรือญาติหรือสายหรือนายหน้า
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนหางานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อมีผู้มาชี้ช่องทางที่จะทำให้ตนเอง
และครอบครัวมีรายได้เพิ่ม จึงหลงเชื่อและนำไปสู่การถูกหลอกลวงต้มตุ๋น หรือบางรายเต็มใจที่จะเสี่ยง
ทั้งที่ไม่มีข้อมูลข่าวสารที่เพียงพอ หรือคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ
(๓) ค่านิยมของแรงงาน โดยมีความเชื่อว่า การไปทำงานต่างประเทศจะทำให้ตนเองและ
ครอบครัวมีความเป็นอยู่ดีขึ้น เพราะเห็นเพื่อนที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศ เมื่อกลับมาแล้วมีฐานะ
ความเป็นอยู่ของครอบครัวดีขึ้น มีความน่าเชื่อถือภายในหมู่บ้านและเป็นที่ยอมรับโดยเฉพาะในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ และในภาคเหนือ
(๔) รายได้ผลผลิตด้านเกษตรกรรมไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ ส่วนใหญ่มีความยากจน
และราคาผลผลิตไม่แน่นอน รวมทั้งการกดขี่จากนายทุนโดยเฉพาะราษฎรยากจนในพื้นที่ภาคตะวัน
ออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ
(๕) ปัจจัยอื่นๆ เช่น ขออนุญาตไปทำงานต่างประเทศบังหน้าแต่มีเจตนาอื่น เช่น ไปเพื่อเล่น
การพนันต้มตุ๋นแรงงานไทยด้วยกัน หรือการค้าประเวณี เป็นต้น
ด้านบริษัทจัดหางานหรือสายหรือนายหน้า
(๑) บริษัทจัดหางานมักจะเก็บค่าบริการและค่าใช้จ่ายในการเดินทางเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
การปกปิดข้อมูลที่เป็นจริง หรือออกใบเสร็จรับเงินจริงให้เฉพาะค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด
เท่านั้น สาเหตุสำคัญมาจากการการแข่งขันในธุรกิจจัดหางาน การซื้อขายตำแหน่งงาน และจะผลัก
ภาระค่าใช้จ่ายให้กับคนหางาน
(๒) บริษัทจัดหางานใช้เครือข่ายสาย/นายหน้าในพื้นที่ในการจัดหาคนงาน ซึ่งสายหรือนายหน้า
ได้เรียกเก็บเงินจากคนงานล่วงหน้า
(๓) บริษัทจัดหางานมักแจ้งตำแหน่งงานไม่ตรงตามสัญญา หรือได้รับค่าจ้างที่ต่ำกว่า หรือถูก
เปลี่ยนแปลงตำแหน่งงาน หรือสถานที่ทำงาน คนหางานจะทราบเมื่อเดินทางไปทำงานแล้ว
(๔) บริษัทจัดหางาน นายทุนเงินกู้ หรือนายหน้า ทั้งชาวไทยและต่างชาติร่วมกันจัดหาคนงาน
โดยไม่มีงานจริง เรียกเก็บค่าบริการและค่าใช้จ่ายโดยผิดกฎหมาย ซึ่งพบว่าเกิดจากความไม่รู้ของ
คนงาน หรือบางรายอาจสมยอมด้วยความจำเป็นทางครอบครัว หรือคาดหวังในรายได้
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๑๗๕
Master 2 anu .indd 175 7/28/08 9:11:02 PM