Page 174 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 174

๗
        บทที่





              คนงานทั้ง  ๓  คน  ที่ถูกควบคุมตัว  ได้รับการ

              ชี้แจงว่า กฎหมายแรงงานและระเบียบการเข้า
              เมืองของกลุมประเทศในตะวันออกกลาง
              มีการบังคับใชกฎหมายแตกตางจาก
              ประเทศอื่น  โดยเฉพาะกฎหมายคนเขา
              เมือง มีระเบียบที่เรียกวา EXIT VISA คือ
              ตราบใดที่นายจางไมลงนามอนุญาตให
              ออกนอกประเทศได ก็จะเดินทางออกไมได
              เลยไมวากรณีใด ๆ
                    สถานทูตไทยได้ดำเนินการในเบื้องต้นด้วยการเจรจากับนายจ้าง  จนสถานการณ์คลี่คลาย

              พร้อมนี้ได้ขอความร่วมมือกระทรวงแรงงาน ประสานงานกับสำนักงานแรงงานในประเทศซาอุดิอาระเบีย
              (เมืองริยาด) ช่วยเหลืออีกทางหนึ่งด้วย จนกระทั่งคนงานบริษัท BB BAR Co. Ltd ได้เดินทางกลับถึง
              ประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว

              	     กรณีที่ (๔) การเสียชีวิตของแรงงานไทย ๓ คน จากสาเหตุไฟไหม้ที่พักในสวนที่เป็นตู้คอน
              เทนเนอร์ ในประเทศเกาหลีใต้ ซึ่ง ๒ คน เข้าเมืองอย่างถูกกฎหมายแต่ไปเจอสภาพการทำงานที่ไม่
              เป็นธรรม จึงหลบหนีไปเป็นแรงงานภาคเกษตร ร่วมกับอีกรายหนึ่งที่เข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย

                    กรณีนี้กระทรวงแรงงานและกระทรวงการต่างประเทศให้การช่วยเหลือนำศพกลับประเทศไทย
              แต่ไม่สามารถดำเนินการให้ได้รับสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ได้ เพราะถือว่าเป็นแรงงานเข้าเมืองผิดกฎหมาย
                    อย่างไรก็ตาม  ในกรณีนี้คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน  จัดประชุมหารือร่วมกันหลายฝ่าย
              ทั้งกระทรวงต่างประเทศ กระทรวงแรงงานองค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันวิชาการ และสมาคมจัดหางาน
              โดยถือเป็นกรณีศึกษา

              	     กรณีที่ (๕) การถูกหลอกเอาที่ดินไปจำนองเป็นค่าใช้จ่ายไปทำงานที่นิวซีแลนด์ แต่ไม่
              ได้ไป และจะถูกยึดที่ดินและบ้านที่ไปค้ำประกันเงินกู้นอกระบบ กรณีนี้มีผู้เดือดร้อน ๑๒๑ คน จาก
              จ.อุดรธานี และ จ.ขอนแก่น แต่บางส่วนได้รับคืนแล้ว ยังขาดอยู่ ๙ ราย และวงเงินสูงถึงคนละ

              ประมาณ ๑๙๐,๐๐๐ บาท นายหน้ารายนี้มีสามีเป็นชาวนิวซีแลนด์ โดยมีน้องสาวเป็นผู้ร่วมดำเนินการ
              คณะอนุกรรมการฯ จึงจัดประชุมไกล่เกลี่ยหาทางแก้ไขร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี “ผู้ให้กู้”
              น้องสาวของนายหน้า รวมทั้งผู้เดือดร้อนที่ จ.อุดรธานี
                    ในที่สุดสามารถทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันได้ มีรายละเอียดโดยสังเขปว่า นายหน้า ยินดีคืนเงิน
              ให้กับผู้ร้องตามจำนวนเงินที่ได้รับจากผู้ร้อง ๙ คน โดยขอจ่ายทุกวันที่ ๓๐ ของเดือน ทะยอยจ่าย
              เดือนละ ๑ คน เริ่มจากเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๑ โดยผู้ร้องจะต้องนำเงินไปคืนให้กับนายทุนเงินกู้
              พร้อมดอกเบี้ยตามที่ตกลงไว้ในบันทึก และกลุ่มผู้ร้องจะถอนเรื่องร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนทันที

              เมื่อได้รับชำระหนี้จนครบถ้วนแล้ว




        ๑๗๔  สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   174                                                                     7/28/08   9:11:01 PM
   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179