Page 172 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 172

๗
        บทที่





              	     ๓.๓ ข้อเสนอแนะของกรมการกงสุลไทย มีสาระสำคัญดังนี้

                    •  ติดตามผลกรณีที่ไต้หวันประกาศว่าจะจัดตั้งคณะกรรมการพิเศษคือคณะกรรมการสิทธิ
              มนุษยชนเพื่อแรงงานต่างชาติ
                    • ติดตามผลการแก้ไขปัญหาของนายจ้างที่ตกลงจะแก้ไข
              	     • ติดตามผลเรื่องการดำเนินคดีของทางการไต้หวันต่อนายจ้าง และบริษัทที่เกี่ยวข้องตามกฎหมาย
                    • ควรตรวจสอบระบบการจัดส่งคนงานไปไต้หวันให้รัดกุมยิ่งขึ้น บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง
              และโดยเคร่งครัดสำหรับผู้กระทำผิดกฎหมายเพื่อปกป้องระบบและรักษาคนดีไว้
              	     •	ควรนำเรื่องมาตรการหรือแนวทางการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์มาแก้ไขปัญหาควบคู่กัน
              ควรประสานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น เช่น สำนักงานอัยการสูงสุด กรมสอบสวนคดีพิเศษ กอง
              บังคับการปราบปรามการกระทำผิดต่อเด็ก เยาวชน และสตรี ( บก.ปดส.) สำนักงานคณะกรรมการ

              ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
                    (๔.) มีข้อน่าสังเกตว่า ระหว่างวันที่ ๑๒ - ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๔๘ มีการประชุมคณะกรรมการ
              ร่วมหารือไทย - ไต้หวัน ครั้งที่ ๙ ฝ่ายไทยมีอธิบดีกรมการจัดหางาน กระทรวง แรงงาน เป็นหัวหน้า
              คณะ มีข้อสรุปในการดำเนินการเรื่องการส่งคนงานไทยไปไต้หวันหลายประการ เช่น
                    -  ไต้หวันยอมรับการใช้เลขประจำตัวประชาชนไทย  ๑๓  หลักในฐานข้อมูลของไต้หวัน
              เพื่อป้องกันเรื่องการแก้ไขชื่อเพื่อเข้าทำงานในไต้หวันซ้ำ
                    - ตกลงแลกเปลี่ยนข้อมูลและลงโทษผู้กระทำผิดเกี่ยวกับค่านายหน้า ไต้หวันจะผ่อนปรนเรื่อง

              การตรวจสุขภาพ ฝ่ายไทยรับจะฝึกอบรมแรงงานก่อนเดินทางและลงโทษแรงงานที่หลบหนีนายจ้าง
                    - กรณีคนงานไทยมิได้ทำผิดแต่ถูกเลิกจ้าง ให้โอนย้ายงานได้ มีนโยบายให้จ้างงานโดยตรงเพื่อ
              แก้ปัญหานายหน้า จะร่วมมือแก้ปัญหาเรื่องนายจ้างหักค่าอาหาร เป็นต้น
                    แต่ไม่มีการพิจารณาแก้ไขปัญหากรณีตามคำร้องนี้  ทั้ง  ๆ  ที่คนงานไทยได้ร้องเรียนต่อ
              สำนักงานแรงงานไทยเกาสง ถึง ๒ ครั้ง และเจ้าหน้าที่ของไทยก็ไม่ได้รับเบาะแสหรือข่าวความขัดแย้ง
              ระหว่างนายจ้างหรือผู้รับเหมางานกับคนงานไทยที่ไต้หวันแต่อย่างใด จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ร้ายแรง
              ในวันที่  ๒๑  สิงหาคม  ๒๕๒๘  หรือประมาณ  ๑  เดือนหลังการประชุมคณะกรรมการดังกล่าว
              แสดงให้เห็นจุดอ่อนของกลไกการรับเรื่องร้องทุกข์ หรือการเข้าถึงข้อมูลปัญหาของคนงานไทยที่ไต้หวัน























        ๑๗๒  สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   172                                                                     7/28/08   9:10:50 PM
   167   168   169   170   171   172   173   174   175   176   177