Page 171 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 171
การละเมิดสิทธิแรงงานไทย
ไปทำงานต่างประเทศ
คนงานไทยทุกคนจะมีที่พักอาศัยคนงานไทยมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ ๒๐,๐๐๐ เหรียญไต้หวัน
คนงานไทยประสบปัญหาหลายประการ กล่าวคือ นายจ้างจ่ายค่าจ้างไม่ถูกต้องตามสัญญา
ถูกโกงค่าจ้างเนื่องจากเศรษฐกิจไต้หวันถดถอย เรื่องที่พักอาศัยและอาหาร สภาพแวดล้อม
ในการทำงานไม่ดี ค่านายหน้าสูงมากราว ๑ - ๒ แสนบาทต่อคน ส่วนใหญ่กู้เงินและเสียดอกเบี้ย
ร้อยละ ๓ ต่อเดือน เสพยาเสพติดและเสพสุราเรื้อรัง และคนงานไทยมีสภาพเจ็บป่วยทางจิต
ฝ่ายบริหารบริษัท KRTC ยอมรับว่าในระยะเวลา ๑๔ ปีที่ไต้หวันนำเข้าแรงงานต่างชาติ
มีคนงานไทยเสียชีวิตจากการทำงานที่ไต้หวัน อย่างน้อย ๗๐๐ - ๘๐๐ ราย มีผู้บาดเจ็บ พิการ และ
เป็นอัมพาต คนงานไทยจำนวนหนึ่งต้องการกลับประเทศไทย แต่ยังค้างชำระค่านายหน้า จึงต้องทน
ทำงานต่อไป
หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องยังไม่สามารถป้องกันหรือแก้ไขปัญหาการลักลอบหรือการเข้าไป
ทำงานที่ไต้หวันในลักษณะแอบแฝง อำพราง หรือซ่อนเร้น อันเป็นขบวนการชักนำคนงานไทยไปสู่วงจร
การค้ามนุษย์ ยาเสพติด การค้าประเวณี และแรงงานทาส
เกี่ยวกับนโยบายด้านแรงงานต่างชาติของไต้หวัน ทางการไต้หวันชี้แจงว่าไต้หวันจะยึดมั่นหลัก
การความเสมอภาค ผลประโยชน์ร่วมกันและให้เกียรติกันโดยผลประโยชน์ของคนงานไทยเท่าเทียม
คนงานชาติอื่น แต่ในทางปฏิบัติไต้หวันใช้ประเด็นแรงงานกดดันไทยในทางการเมือง เช่น มีนโยบาย
จ้างแรงงานต่างชาติชาวฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และมองโกเลียแทนแรงงานไทยในกิจการก่อสร้าง
ขยายระยะเวลาในการอนุมัติการนำเข้าคนงานไทยจาก ๑๐ วัน เป็น ๖๐ วัน ไม่อนุญาตให้ภัตตาคาร
หรือร้านอาหารไทยในไต้หวันจ้างผู้ปรุงอาหารที่เป็นคนงานไทย เป็นต้น
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๑๗๑
Master 2 anu .indd 171 7/28/08 9:10:36 PM