Page 170 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 170

๗
        บทที่






              	     ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการตรวจสอบสิทธิมนุษยชน (ไต้หวัน)
                    (๑) ควรลงโทษ บริษัท KRTC ด้วยการระงับโควต้าแรงงานต่างชาติส่วนที่ยังมิได้นำเข้ารวมถึง
              ใบอนุญาตทำงานแรงงานต่างชาติที่นำเข้ามาแล้ว และให้ตรวจสอบกรณี บริษัท KRTC รับเงินจาก
              ผู้รับเหมาที่ต้องการจ้างแรงงานต่างชาติและจ่ายเงินให้บริษัท หัวผาน เพื่อดูแลแรงงานไทยว่าถูกต้อง
              หรือเหมาะสมหรือไม่ และควรตรวจสอบการเก็บค่าบริการและค่าใช้จ่ายว่าเกินที่กำหนดไว้หรือไม่
              หากพบว่าผิดให้เพิกถอนใบอนุญาตการส่งแรงงานไทยไปไต้หวันของบริษัทจัดหางานดังกล่าว
              	     (๒) ควรตรวจสอบการจ่ายค่าบริหารดูแลคนงานไทยแก่บริษัท หัวผาน ของบริษัท KRTC ว่า
              ถูกต้องหรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ และให้ดำเนินคดีกับบริษัท หัวผาน ที่จัดหางานโดยผิดกฎหมาย
                    (๓) คณะกรรมการกิจการแรงงานไต้หวันควรทบทวนระบบการนำเข้าแรงงานต่างชาติ โดยให้

              ผู้รับเหมาแต่ละรายเป็นผู้รับผิดชอบการนำเข้าแรงงานต่างชาติและบริหารดูแลกันเองและปรับปรุง
              ระบบการร้องทุกข์ของแรงงานต่างชาติให้มีประสิทธิภาพ
                    (๔) ควรเพิ่มโทษทางอาญาสำหรับนายจ้างหรือผู้จัดหางานที่บริหารหรือดูแลแรงงานต่างชาติ
              อย่างไม่เหมาะสม

              	     การดำเนินการและความเคลื่อนไหวที่สำคัญ มีดังนี้
                    (๑) วันที่  ๒๙  สิงหาคม  ๒๕๔๘  รองประธานาธิบดีไต้หวันได้กล่าวในระหว่างพบหารือกับ

              ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎรว่า ไต้หวันจะตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
              เพื่อแรงงานต่างชาติ ขึ้นต่อคณะกรรมาธิการที่ปรึกษาสิทธิมนุษยชนประจำทำเนียบประธานาธิบดี
              เพื่อดูแลสภาพการจ้างงานและสวัสดิภาพ ตลอดจนติดตามข้อร้องเรียนของคนงานต่างชาติที่ได้รับ
              การปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมจากนายจ้างในไต้หวัน
                    (๒) เหตุการณ์รุนแรงครั้งนี้ สะท้อนถึงความซับซ้อนของปัญหาที่เกี่ยวพันกับผลประโยชน์ใน
              การจัดส่งแรงงาน ซึ่งมีข่าวรายงานว่า เจ้าหน้าที่รัฐบางราย ทั้งฝ่ายไทยและไต้หวันมีส่วนร่วมในการ
              พยายามลดต้นทุนเพื่อให้ได้ค่านายหน้ามากขึ้น ขอให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของไทยสอบสวนเรื่อง
              นี้เพื่อให้เกิดความกระจ่าง  และหวังว่าฝ่ายไทยจะให้ความร่วมมือกับไต้หวันปรับปรุงวิธีการจัดส่ง
              แรงงานไทยไปไต้หวันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

                    (๓)   กรมการกงสุล กระทรวงต่างประเทศของไทยได้ทำรายงาน  เรื่อง  เหตุการณ์จลาจล
              ของแรงงานไทยในไต้หวัน  ลงวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๔๘ รายงานต่อคณะกรรมาธิการการแรงงาน
              สภาผู้แทนราษฎร สรุปได้ดังนี้
                      ๓.๑ เมื่อปรากฏข่าวเรื่องนี้ทางสื่อ นายกรัฐมนตรีไต้หวันเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐของไต้หวัน
              ให้มีความเมตตาต่อแรงงานต่างชาติที่ต้องแบกรับงานหนักแทนคนไต้หวันและให้มีการปรับปรุงสภาพ
              การจ้างและสวัสดิการของคนงานต่างชาติให้เหมาะสมและเป็นธรรมยิ่งขึ้น
                      ๓.๒ สถานการณ์แรงงานไทยในไต้หวัน แรงงานต่างชาติในไต้หวันมีประมาณ ๒ แสนคนเศษ

              จำนวน ๑ แสนคนเศษ เป็นคนงานไทย นำรายได้เข้าไทยปีละ ๕๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่
              เป็นคนงานจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายแรงงานไต้หวัน  จำนวน
              ๑๕,๘๔๐ เหรียญไต้หวันต่อเดือน มีการประกันสังคมและประกันสุขภาพตามข้อตกลงไทย - ไต้หวัน


        ๑๗๐  สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   170                                                                     7/28/08   9:10:29 PM
   165   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175