Page 168 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 168

๗
        บทที่

































                    อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๔๘ นายแสวงฯ กับบริษัทจัดหางานสามารถตกลง
              กันได้ โดยบริษัทได้จ่ายเงินช่วยเหลือจำนวน ๒๗,๐๐๐ บาทแล้ว ส่วนที่อ้างว่า บริษัท KRTC ที่ไต้หวัน
              ทำผิดสัญญากับคนงานไทยนั้น กรมการจัดหางานได้ประสานกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อ
              แก้ไขปัญหาดังกล่าวแล้ว และชี้แจงเพิ่มเติมว่า กรณี บริษัท KRTC ที่ไต้หวันไม่ปฏิบัติตามสัญญากับ

              คนงานไทยนั้น ปรากฏว่า เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๔๘ คนงานไทยได้ประท้วงและก่อเหตุเผา
              ทำลายทรัพย์สินในที่พักอาศัยคนงาน  ซึ่งคณะกรรมการกิจการแรงงานไต้หวัน  (COUNCIL  OF
              LABOUR AFFAIR - CLA) ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อตรวจสอบข้อเท็จ
              จริงในกรณีดังกล่าว
                    คณะอนุกรรมการฯ เห็นว่า แม้ว่าประชาชนบางส่วนกับบริษัทจัดหางานสามารถตกลงกันได้
              แต่เนื่องจากปัญหาคนงานไทยที่ไต้หวันถูกละเมิดสิทธิ จนกระทั่งความขัดแย้งบานปลายจนเกิดเหตุ
              เผาและทำลายทรัพย์สินของนายจ้างนับว่าเป็นกรณีร้ายแรงยิ่ง จำเป็นที่รัฐบาลไทยจะต้องมีนโยบายที่
              ชัดเจนในการส่งคนงานไทยไปทำงานที่ไต้หวันและมีแนวทางหรือมาตรการในการป้องกันมิให้เกิด
              ปัญหาทำนองดังกล่าวขึ้นอีก คณะอนุกรรมการฯ จึงมีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ดังนี้

                    (๑) การตรวจสอบข้อเท็จจริงของกรมการจัดหางาน กรณีนายวิเชียรฯ โดยการสอบถามข้อเท็จจริง
              จากนายวิเชียรฯ และบริษัทจัดหางานฯ น่าจะไม่เพียงพอ ส่วนกรณีที่อ้างว่านายวิเชียรฯ ถูกส่งกลับ
              ประเทศ เพราะขัดขืนคำสั่งของนายจ้างนั้นก็ยังไม่ปรากฏชัดเจนว่าขัดขืนคำสั่งนายจ้างในเรื่องใด ซึ่งหาก
              พิจารณาข้อเท็จจริงน่าจะเป็นเรื่องที่นายจ้างห้ามคนงานไทยมี หรือใช้โทรศัพท์มือถือในที่พักอาศัย
              หากข้อเท็จจริงเป็นเช่นว่านี้ คำสั่งของนายจางยอมเปนการละเมิดสิทธิของคนงานไทย ซึ่งต่อมา
              จากการเจรจาต่อรองของกระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นายจ้างยอมยกเลิกระเบียบดังกล่าว
              	     (๒)  เนื่องจากกรณีนี้ปรากฏเป็นข่าวต่อสาธารณชนทั้งในระดับประเทศ  และในทางสากล

              หน่วยงานระดับนโยบายทั้งของไทยและไต้หวันจึงให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาและมีการดำเนินการ
              ที่ค่อนข้างฉับไว

        ๑๖๘  สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   168                                                                     7/28/08   9:10:27 PM
   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172   173