Page 167 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 167

การละเมิดสิทธิแรงงานไทย
                                                                             ไปทำงานต่างประเทศ






                    สถานการณ์ปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงาน

                    ลักษณะการละเมิดสิทธิแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศมีหลายลักษณะและรูปแบบ เช่น
                    ๑. จ่ายเงินค่าบริการล่วงหน้าแล้วไม่ได้เดินทางไปทำงาน
                    ๒. จ่ายเงินค่าบริการสูงเกินกว่าที่รัฐกำหนด
                    ๓. ได้เดินทางไปต่างประเทศแล้วไม่มีงานให้ทำ ถูกส่งกลับ
                    ๔. ได้เดินทางไปทำงานจริง แต่ตำแหน่งงานไม่ตรงตามสัญญาจ้าง

                    ๕. ได้เดินทางไปทำงานตรงตามตำแหน่งงานจริง แต่ค่าจ้างได้รับต่ำกว่าที่ตกลงกันไว้ในสัญญา
                    ๖. ได้ทำงานตรงตามตำแหน่งและค่าจ้างตรงตามสัญญา แต่ระยะเวลาการจ้างสั้นกว่าที่ได้
              ตกลงกัน เช่น ทำงานได้แค่ ๓ - ๖ เดือนก็ส่งกลับ บางรายไม่ทราบล่วงหน้าว่าไปทำงานแทนคนเดิมที่
              ถูกส่งกลับประเทศก่อนหน้านั้น เป็นต้น

              
     กรณีตัวอย่างการร้องเรียนการละเมิดสิทธิแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ

                    ที่คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานตรวจสอบ

              
     กรณีที่  (๑)  นายแสวง  วิเชียรเลิศ  ได้ร้องเรียนอ้างว่า  บริษัทจัดหางาน  บี.เอส.บี.
              โอเวอร์ซีส์ จำกัด ในฐานะผู้จัดหางานในประเทศไทย และบริษัท KAOHSIUNG RAPID TRANSIT
              CORP.  (KRTC)  ในฐานะนายจ้างที่ไต้หวันละเมิดสิทธิแรงงานและสิทธิมนุษยชนของคนงานไทย
              ที่ไต้หวัน (รายงานผลการตรวจสอบที่ ๔๖๓/๒๕๕๐ กรณีแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศถูก
              ละเมิดสิทธิมนุษยชน นายแสวง วิเชียรเลิศ ผู้ร้อง บริษัทจัดหางาน บี. เอส. บี. โอเวอร์ซีส์
              จำกัด และบริษัท KAOHSIUNG RAPID TRANSIT CORP. (KRTC) ผู้ถูกร้อง)


              
     เมื่อปี  ๒๕๔๗  ประชาชนจังหวัดบุรีรัมย์ได้เดินทางไปทำงานที่ไต้หวันผ่านบริษัทจัดหางาน
              บริษัท จัดหางาน  บี.เอส.บี.  โอเวอร์-ซีส์  จำกัด  เสียค่าบริการ  ค่าใช้จ่ายและค่านายหน้าจำนวน
              หนึ่งแสนบาทเศษ บริษัทได้ส่งไปทำงานกับนายจ้างคือบริษัท KRTC สัญญาจ้างมีกำหนดเวลา ๒ ปี
              แต่คนงานไทยบางส่วนทำงานได้เพียง ๘ เดือนก็ถูกส่งกลับประเทศไทย
                    คนงานไทยที่ไต้หวันได้รับความไม่เป็นธรรมหลายประการ  กล่าวคือ  คนงานไทยที่ประสบ
              อุบัติเหตุไม่ได้รับเงินทดแทนและถูกหักค่าแรง  เมื่อคนงานไทยทวงถามค่าจ้างหรือค่าล่วงเวลา
              ล่ามหรือนายจ้างข่มขู่ว่าจะส่งกลับประเทศไทย  ที่พักอาศัยของคนงานไทยไม่ดี  มีสังกะสีล้อมไว้
              ราวกับคุมขังแรงงานทาส และถูกโกงค่าจ้าง เคยร้องเรียนต่อกระทรวงแรงงานแล้วแต่ไม่ได้รับการ

              แก้ไขแต่อย่างใด
                    คณะอนุกรรมการฯ ขอให้กรมการจัดหางานซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องดังกล่าวตรวจสอบ
              ข้อเท็จจริง และดำเนินการแก้ไขปัญหาให้เกิดความเป็นธรรมโดยด่วน
              	     ฝายนายจางอางวา  คนงานไทยขัดขืนคำสั่งของนายจางกรณีหามใชโทรศัพทมือถือ
              ซึ่งคนงานไทยยอมรับผิดและไดยกเลิกสัญญาจางเองโดยสมัครใจ


                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๑๖๗





     Master 2 anu .indd   167                                                                     7/28/08   9:10:18 PM
   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172