Page 137 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 137
การละเมิดสิทธิแรงงาน
คนทำงานภาครัฐ
- ผู้ร้องที่ ๖ ร้องว่าผู้ร้องเป็นพนักงานเก็บค่าโดยสาร ถูกเลิกจ้างโดยกล่าวหาว่าผู้ร้องแสดง
กิริยาไม่สุภาพต่อผู้โดยสารในขณะปฏิบัติงาน ทำให้ได้รับความเดือดร้อนและไม่ได้รับความเป็นธรรม
(คำร้องที่ ๖๕๖/๒๕๔๗ )
- ผู้ร้องที่ ๗ ร้องว่า เป็นพนักงานเก็บค่าโดยสารรถปรับอากาศ ถูกตั้งกรรมการสอบสวนผู้ร้อง
กับพวกอีก ๑๘ คน และโยกย้ายให้ไปทำงานไกลจากที่พัก ต่อมาหัวหน้างานได้กลั่นแกล้งและลงโทษ
โดยไม่เป็นธรรม (คำร้องที่ ๑๓๘/๒๕๔๗)
- ผู้ร้องที่ ๘ ร้องว่า ผู้ร้องกับพวกเป็นพนักงานขับรถและพนักงานเก็บค่าโดยสารรถปรับอากาศ
ถูกเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง ทำให้ผู้ร้องและพวกมีรายได้ลดลง (๔๓/๒๕๔๘)
ตามรายงานผลการตรวจสอบ คณะอนุกรรมการฯ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
กรณีผู้ร้องที่ ๑ และ ๒ คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า การพักงาน ผู้ร้องที่ ๑
และผู้ร้องที่ ๒ เป็นการสั่งลงโทษพักงานที่ไม่เป็นธรรม แม้ผู้ถูกร้องจะอ้างว่าได้ดำเนินการตามข้อ
บังคับฉบับที่ ๔๖ ข้อ ๓๙ ก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาข้อบังคับข้อ ๓๙ ได้ความว่า การสั่งพักงาน
เนื่องจากการกระทำความผิดจนมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้นตามข้อ ๑๔ นั้น ต้องเป็นการ
กล่าวหาว่ากระทำความผิดทางวินัยร้ายแรงถึงขั้นไล่ออกและให้ออกเท่านั้น กรณีของผู้ร้องที่ ๑
และ ที่ ๒ กระทำความผิดด้วยเหตุตัดรถเสริมโดยพลการเท่านั้น ซึ่งน่าจะมีความผิดและถูกลงโทษ
เพียงตักเตือนเป็นหนังสือเท่านั้น กรณีของผู้ร้องที่ ๑ และ ที่ ๒ คณะอนุกรรมการฯ เห็นว่าเป็นไปได้
ที่ผู้ร้องที่ ๑ และ ที่๒ จะถูกผู้บังคับบัญชากลั่นแกล้งลงโทษ เพราะ ผู้ร้องที่ ๑ และ ที่ ๒
เคยยื่นเรื่องร้องเรียนผู้ถูกร้อง
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๑๓๗
Master 2 anu .indd 137 7/28/08 9:04:34 PM