Page 132 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 132
๕
บทที่
๒) การไกล่เกลี่ยในกรอบของการคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชน
คณะอนุกรรมการฯ ได้จัดประชุมร่วมกับผู้ถูก
ร้องและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาทางแก้ไขปัญหา
ให้แก่ผู้ร้องในหลายกรณี แต่หน่วยงานที่รับผิดชอบมัก
จะอ้างว่าได้ให้ความช่วยเหลือลูกจ้างตามที่กฎหมาย
กำหนดแล้ว เช่น กรณีโรงงานสุราบางยี่ขัน ของกรม
โรงงานอุตสาหกรรม ที่ขายโรงงานให้เอกชน แต่ไม่
สามารถบังคับให้โรงงานใหม่รับพนักงานเข้าทำงาน
เมื่อเรื่องผ่านมาเป็นเวลานาน พนักงานก็ล้วนแต่มีอายุมากขึ้น ข้อเสนอของพนักงานจึงขอให้จ่ายเงิน
ชดเชยและค่าเสียโอกาสในการทำงานให้ แทนคำขอให้รับเข้าทำงาน แต่ก็ไม่ได้รับการตัดสินใจใด ๆ
จากกรมโรงงานอุตสาหกรรมและระดับรัฐบาล
แต่ก็มีบางหน่วยงานที่คณะอนุกรรมการ ฯ ได้ไกล่เกลี่ยจนผู้บริหารได้เห็นชอบในการแก้ไขหรือ
เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบไปได้บ้าง เช่น กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการต่อสัญญาจ้างให้กับลูกจ้างซึ่ง
เป็นครูช่วยสอนให้สามารถทำงานได้ต่อไปอีกระยะหนึ่ง และช่วยดำเนินการให้สามารถเปลี่ยนงานที่
ใกล้เคียงต่อเนื่อง ในช่วงที่ลูกจ้างไม่สามารถหางานทำใหม่ได้ (คำร้องที่ ๒๔/๔๘)
หรือ เลขาธิการรัฐสภาได้ต่อสัญญาให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ทำงานด้านนิติกรประจำ
คณะกรรมาธิการในสภาผู้แทนราษฎร ในกรณีที่มีการไม่ต่อสัญญาจ้างเมื่อมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร
(คำร้องที่ ๕๓๓/๔๙)
๑๓๒ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 132 7/28/08 9:04:02 PM