Page 138 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 138
๕
บทที่
กรณีผู้ร้องที่ ๓ เห็นว่า การพักงานผู้ร้องที่ ๓ เป็นการลงโทษพักงานที่ไม่เป็นธรรม เนื่องจาก
เหตุที่ถูกสั่งพักงานมาจากการวิ่งรถในช่องทางเดินรถที่สาม และไม่เข้าหยุดรับ-ส่งผู้โดยสาร ซึ่งไม่น่า
จะเป็นความผิดร้ายแรงขั้นให้ออกหรือไล่ออก กรณีของผู้ร้องที่ ๓ คณะอนุกรรมการฯ เห็นว่า เป็นไป
ได้ที่ผู้ร้องที่ ๓ จะถูกกลั่นแกล้งจากหัวหน้างาน เพราะเคยร่วม ลงชื่อร้องเรียนหัวหน้างานเกี่ยวกับการ
ปลอมแปลงเอกสารเพื่อเบิกค่าล่วงเวลา
กรณีผู้ร้องที่ ๔ เห็นว่า การพักงานผู้ร้องที่ ๔ เป็นการลงโทษพักงานที่ไม่เป็นธรรม เนื่องจาก
เหตุที่ถูกสั่งพักงานมาจากการที่กล่าวหาว่าผู้ร้องที่ ๔ ไม่นำรถวิ่งถึงปลายท่าและตัดเลิกรถโดยพลการ
ซึ่งไม่น่าจะเป็นความผิดร้ายแรงขั้นให้ออกหรือไล่ออกที่ต้องสั่งพักงาน ในขณะที่ถูกตั้งคณะกรรมการ
สอบสวนตามข้อบังคับฉบับที่ ๔๖ ข้อ ๓๙ ได้
กรณีผู้ร้องที่ ๕ เห็นว่า การพักงานผู้ร้องที่ ๕ เป็นการลงโทษพักงานที่ไม่เป็นธรรม เนื่องจาก
เหตุที่ถูกสั่งพักงานเพราะไม่นำรถออกวิ่งให้ครบ ๓ รอบซึ่งไม่น่าจะเป็นความผิดร้ายแรงขั้นให้ออกหรือ
ไล่ออกที่ต้องสั่งพักงาน ในขณะที่ถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามข้อบังคับฉบับที่ ๔๖ ข้อ ๓๙ ได้
ยิ่งเมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ผู้ร้องที่ ๕ ได้ทำหนังสือถึงผู้บังคับบัญชาเบื้องต้นเพื่อขอยุติการ
ทำงานเนื่องจากร่างกายอ่อนเพลีย ผู้ถูกร้องควรที่จะต้องพิจารณาหนังสือดังกล่าว เพราะไม่เช่นนั้น
หากยังปล่อยให้ผู้ร้องที่ ๕ ไปทำงานในขณะที่ร่างกายอ่อนเพลียอาจเกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อผู้
ใช้บริการอย่างร้ายแรง
กรณีผู้ร้องที่ ๖ เห็นว่า การเลิกจ้างผู้ร้องที่ ๖ เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม เพราะเพียงแต่ผู้
ร้องที่ ๖ คุยกับผู้โดยสาร ก็กล่าวหาลงโทษผู้ร้องในประเด็นชู้สาว ซึ่งไม่มีข้อเท็จจริงใดที่แสดงเป็นที่ยุติ
ว่าผู้ร้องที่ ๖ ได้กระทำความผิดในประเด็นชู้สาวจริง และเกี่ยวกับความผิดในประเด็นชู้สาวก็มิใช่
ความผิดร้ายแรงถึงขั้นไล่ออกหรือปลดออกตามข้อบังคับฉบับที่ ๔๖
อนึ่ง สำหรับผู้ร้องที่ ๖ ภายหลังได้ไปฟ้องศาลแรงงานกลาง มีคำขอให้ศาลพิพากษายกเลิกคำ
สั่งผู้ถูกร้องที่เลิกจ้างผู้ร้องที่ ๖ จากการไกล่เกลี่ยของศาลปรากฏว่าทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงกันได้
และผู้ร้องที่ ๖ ได้กลับเข้าไปทำงานในตำแหน่งหน้าที่เดิมแล้ว
๑๓๘ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 138 7/28/08 9:04:42 PM