Page 133 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 133

การละเมิดสิทธิแรงงาน
                                                                                 คนทำงานภาครัฐ






              	     ๓) การจัดทำรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน เสนอต่อคณะกรรมการ
              สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) หลังจากที่ดำเนินการทำความจริงให้ปรากฎอย่างถูกต้อง เป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
                    ในที่นี้  ขอนำเสนอกรณีตัวอย่างจาก çรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
              โดย กสม.é และการรณรงค์ร่วมกับองค์กรเครือข่ายเพื่อกำหนดข้อเสนอแนะ และเคลื่อนไหวให้เป็น
              ประเด็นสาธารณะในบางกรณี  แม้จะยังไม่มีรายงานผลการตรวจสอบ  โดย  กสม.ก็ตาม  เพื่อเป็น
              กรณีศึกษาในแต่ละประเด็นให้ชัดเจน  และเข้าใจถึงกระบวนการดำเนินการของคณะอนุกรรมการ
              สิทธิแรงงาน และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

              	     กรณีตัวอย่าง ประเด็นการจ้างงานโดยไม่เป็นธรรม

              	     ๑. กรณีการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม (รายงานผลการตรวจสอบที่ ๔๐๐/๒๕๕๐ กรณี
              นางณภัทร  ประทุมทิพย์  ผู้ร้อง  บริษัท  องค์การเภสัชกรรม-เมอร์ริเออ  ชีววัตถุ  จำกัด
              ผู้ถูกร้อง/คำร้องที่ ๒๙๖/๒๕๔๖)
              	     ประเด็นร้องเรียน  ผู้ร้องเป็นพนักงานระดับบริหารของบริษัท  องค์การเภสัชกรรม-เมอร์ริเออ
              ชีววัตถุ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนขององค์การเภสัชกรรม ร้องเรียนว่า ถูกเลิกจ้างโดยอ้างเหตุว่า
              ผู้ร้องกระทำความผิดต่อกฎ ระเบียบ ข้อบังคับอย่างร้ายแรง รวมถึงการทำงานไม่มีประสิทธิภาพ
              ไม่อุทิศตนในการทำงาน ไม่ซื่อสัตย์ และเบี่ยงเบนข้อเท็จจริงทำให้เกิดความเข้าใจผิดในหมู่ลูกจ้าง




















              แต่ผู้ร้องคาดว่า สาเหตุการเลิกจ้างน่าจะมาจากการที่ กรรมการผู้จัดการ ผู้ถูกร้อง ไม่พอใจที่ผู้ร้องได้
              เปิดเผยข้อมูลความไม่โปร่งใสในการบริหารกิจการและการใช้จ่ายต่าง ๆ ต่อองค์การเภสัชกรรม ก่อนที่
              จะถูกเลิกจ้าง ผู้ร้องได้รับหนังสือเตือนเกี่ยวกับการทำงานจากผู้ถูกร้องหลายฉบับ และผู้ถูกร้องได้
              ขอร้องให้ผู้ร้องลาออกโดยเสนอที่จะจ่ายเงินค่าชดเชย รวม ๑๓ เดือนให้กับผู้ร้อง แต่ผู้ร้องไม่ยินยอม
                    ความเห็นของคณะอนุกรรมการฯ ในระหว่างการตรวจสอบผู้ร้องได้ฟ้องผู้ถูกร้องต่อศาลแรงงาน
              ภาค ๒ เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๘๓/๒๕๔๗ และเป็นประเด็นเดียวกับเรื่องร้องเรียน จึงไม่อยู่ในอำนาจ
              การตรวจสอบของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  ตามมาตรา  ๒๒  แห่งพระราชบัญญัติ

              คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
              	     ผลการดำเนินคดี ปรากฏว่าผู้ร้องเป็นฝ่ายชนะคดี (คดีหมายเลขแดงที่ ๓๙๔/๒๕๔๗ ศาล
              แรงงานภาค ๒)


                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๑๓๓





     Master 2 anu .indd   133                                                                     7/28/08   9:04:12 PM
   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138