Page 142 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 142
๕
บทที่
๓) ผู้แทนกลุ่มลูกจ้างในโรงพยาบาล สังกัด
กระทรวงสาธารณสุข เสนอปัญหาเกี่ยวกับความไม่
มั่นคงในการทำงาน มีการจ้างงานตามสัญญาจ้างปี
ต่อปี ได้รับค่าจ้างและค่าล่วงเวลาต่ำกว่ามาตรฐานไม่ได้
รับสวัสดิการเหมือนกับข้าราชการ เช่น พนักงานหรือ
ลูกจ้างประจำลาป่วยได้ปีละ ๑๕ วัน หากลาเกินจะไม่
ได้รับค่าจ้าง ลาคลอดในกรณีคลอดปกติได้ ๓๐ วัน
ลาคลอดในกรณีผ่าตัดได้ ๔๕ วัน ลาพักผ่อนประจำปี
ได้ปีละ ๑๐ วันและไม่สามารถสะสมวันลาได้
๔) ผู้แทนกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ เสนอปัญหาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการบริหาร
กล่าวคือ เมื่อจะมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการจัดการรัฐวิสาหกิจ จะเรียกเข้าไปเพื่อสรุปให้รับทราบ
ถึงการเปลี่ยนแปลงในขั้นตอนสุดท้ายเท่านั้น นอกจากนี้มีปัญหาเรื่องสวัสดิการที่ไม่เป็นธรรม เกี่ยวกับ
ค่าเดินทางและเบี้ยเลี้ยงในการเดินทางไปปฏิบัติงานต่างจังหวัด ผู้บริหารจะเบิกได้มากกว่าผู้ปฏิบัติงาน
ที่ประชุมสรุปความเห็นร่วมกันว่า การจ้างงานแบบชั่วคราว โดยทำสัญญา ๓ เดือน ๖ เดือน
หรือ ๑ ปี กับลูกจ้างโรงพยาบาลในกระทรวงสาธารณสุข หรือครูช่วยสอนในกระทรวงศึกษาธิการ
หรือลูกจ้างในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ หรือการจ้างเหมาช่วงในหน่วยงานราชการ หรือ
รัฐวิสาหกิจเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนเรื่องความมั่นคงในการมีงานทำ การจ้างงานดังกล่าวลูกจ้าง
จะได้รับค่าจ้างและสวัสดิการต่ำกว่ามาตรฐาน มีการเลือกปฏิบัติในการจ้างงาน ซึ่งไม่เป็นไปตาม
รัฐธรรมนูญ กติการะหว่างประเทศ และอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ
๑๔๒ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 142 7/28/08 9:05:32 PM