Page 139 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 139

การละเมิดสิทธิแรงงาน
                                                                                 คนทำงานภาครัฐ






                                                     กรณีผู้ร้องที่ ๗ เห็นว่า การลงโทษภาคทัณฑ์ ผู้ร้องที่
                                               ๗  เป็นการลงโทษที่ไม่เป็นธรรม  เพราะสาเหตุที่ผู้ถูกร้อง
                                               ลงโทษผู้ร้องที่ ๗ มาจากเรื่องการที่ผู้ร้องที่ ๗ บันทึกข้อความ
                                               ลงในเอกสารใบเซ็นทำงานของพนักงาน (บช.ข. ๒) ซึ่งน่าจะมี
                                               ความผิดเพียงการตักเตือนเท่านั้น  ยิ่งเมื่อพิจารณาเหตุอื่น
                                               ประกอบที่พบข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องที่ ๗ เคยร่วมกับพวกร้อง
                                               เรียนว่ามีการโยกย้ายไม่เป็นธรรม คณะอนุกรรมการฯ เห็นว่า
                                               เป็นไปได้ที่ผู้ร้องที่ ๗ จะถูกผู้บังคับบัญชากลั่นแกล้งโดยนำ
                                               เอาความผิดเพียงเล็กน้อยมาลงโทษ

                                                     กรณีผู้ร้องที่ ๘ เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง
                                               รวมถึงการที่หัวหน้างานข่มขู่ผู้ร้องที่ ๘ และพวกว่า หากไม่
                                               ยอมเปลี่ยนสภาพการจ้างจากพนักงานรายวันเป็นพนักงาน
                                               รายเดือนตามมติของคณะกรรมการ  ผู้ถูกร้องจะย้ายให้ไป
                                               ทำงานบนรถปรับอากาศสายที่ไม่มีผู้โดยสารมากนัก  ถือ
                                               เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม


              	     กสม.กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหา และมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ดังนี้
              	     มาตรการในการแก้ไขปัญหา
                    ๑. กระทรวงคมนาคมต้องสั่งการให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพแก้ไขข้อบังคับฉบับที่ ๔๖ ใน
              เรื่องที่เกี่ยวกับการสั่งพักงานลูกจ้างหรือพนักงานที่กระทำความผิดวินัยให้ผู้บังคับบัญชาที่รับผิดชอบ
              สามารถสั่งพักงานได้เฉพาะในกรณีที่หากไม่สั่งพักงานแล้วพนักงานหรือลูกจ้างที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำ
              ความผิดจะใช้ตำแหน่งของตนเองปิดบังซ่อนเร้นหรือทำลายหลักฐานที่ได้กระทำความผิดหรือใช้
              ตำแหน่งของตนเองในการข่มขู่เปลี่ยนคำให้การของพยานเท่านั้น
                    ๒.  กระทรวงคมนาคมต้องกำกับดูแลให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ  ปรับปรุงระบบการ
              บริหารงานบุคคลใหม่โดยยึดหลักคุณธรรมที่มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้

                    ทั้งนี้ ให้ดำเนินการแล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับรายงานฉบับนี้
                    ๓.  กระทรวงแรงงานต้องกำกับดูแลให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพดำเนินการเกี่ยวกับการ
              เปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
                    ทั้งนี้ ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับรายงานฉบับนี้

              	     ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                    ๑. กระทรวงการคลังต้องดำเนินการแบ่งประเภทของรัฐวิสาหกิจ ตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งให้

              ชัดเจนและมีนโยบายต่อการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจแต่ละประเภทให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
              เพื่อจะก่อให้เกิดความรู้สึกด้านขวัญกำลังใจในการทำงานของพนักงานรัฐวิสาหกิจที่องค์กรประสบ
              ภาวะขาดทุน และไม่รู้สึกว่ามีการเลือกปฏิบัติในระหว่างพนักงานรัฐวิสาหกิจด้วยกัน


                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๑๓๙





     Master 2 anu .indd   139                                                                     7/28/08   9:04:47 PM
   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144