Page 140 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 140
๕
บทที่
๒. กระทรวงการคลังต้องจัดสรรเงิน
สนับสนุนรัฐวิสาหกิจที่มีวัตถุประสงค์ในการดำเนิน
การเพื่อประโยชน์ทางสังคมในจำนวนที่เหมาะสม
รวมถึงให้หลักประกันต่อการเสริมสร้างขวัญกำลัง
ใจในการทำงานให้กับพนักงานรัฐวิสาหกิจที่
ทำงานทางด้านสังคมซึ่งไม่ได้คำนึงถึงผลกำไร
สูงสุดขององค์กร โดยสนับสนุนเงินด้านสวัสดิการ
หรือจัดสรรโบนัสประจำปีให้ตามความเหมาะสม
เช่นเดียวกับหน่วยงานราชการอื่นที่ดำเนินงาน
ให้การบริการกับประชาชน
๓. รัฐต้องมีนโยบายต่อการบริหารงาน
บุคคลในภาคราชการทุกหน่วยงานโดยการ
ปรับปรุงระบบการบริหารบุคคลเรื่องวินัยและการ
ลงโทษที่ล้าสมัยและขาดคุณธรรม ให้ทันสมัย มี
คุณธรรม ที่ยึดหลักการลงโทษตามข้อเท็จจริงที่ได้
กระทำความผิดซึ่งควรมีผู้แทนของพนักงานหรือ
ลูกจ้างเข้าร่วมเป็นกรรมการสอบสวนทุกขั้นตอน
เพื่อให้เกิดความโปร่งใส
๔. หากรัฐมีนโยบายที่จะเพิ่มเงินเดือนค่าจ้างให้กับบุคลากรที่ทำงานในภาครัฐ รัฐต้องมีมติ
ให้ชัดเจนถึงการเพิ่มเงินเดือนค่าจ้างดังกล่าวให้กับบุคลากรที่ทำงานในภาครัฐทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็น
ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานในองค์การมหาชน พนักงานและลูกจ้างในรัฐวิสาหกิจ ลูกจ้างรายเดือน
ลูกจ้างรายวัน รวมถึงลูกจ้างรับเหมาช่วงส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจทุกหน่วย เพื่อให้เกิดความเป็น
ธรรมและสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานร่วมกัน
กรณีตัวอย่าง การรณรงค์และตรวจสอบเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงกฎหมายและนโยบาย
กรณีที่ ๑) การรณรงค์เรื่องสิทธิคนทำงานภาครัฐ โดยเฉพาะลูกจ้างชั่วคราว และลูกจ้างทำ
ของคณะอนุกรรมการ ฯ ได้จัดสัมมนาร่วมกับสหพันธ์แรงงานในกิจการสาธารณูปโภคระหว่าง
ประเทศ (PSI). และลูกจ้างภาครัฐหลายหน่วยงาน ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรวบรวม
ประเด็นการละเมิดสิทธิแรงงานของลูกจ้างภาครัฐ กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะ
การพัฒนาเครือข่ายลูกจ้างและคนทำงานภาครัฐอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการนำเสนอปัญหาต่อสาธารณะ
และสื่อมวลชน ดังนี้
ครั้งที่ ๑ วันที่ ๒ - ๔ กันยายน ๒๕๔๘ ที่ โรงแรม ชลพฤกษ์ รีสอร์ท อำเภอบ้านนา
จังหวัดนครนายก มีผู้เข้าร่วมการสัมมนาจากภาคราชการและรัฐวิสาหกิจ จำนวน ๖๕ คน
ที่ประชุมได้นำเสนอปัญหาภาพรวมเกี่ยวกับสิทธิแรงงานของคนทำงานภาครัฐ ที่มีความหลาก
หลายตามประเภทการจ้างงาน จำแนกเป็นข้าราชการ พนักงานของรัฐ ลูกจ้างประจำ และลูกจ้าง
๑๔๐ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 140 7/28/08 9:05:00 PM