Page 134 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 134
๕
บทที่
จากการตรวจสอบ คณะอนุกรรมการฯ มีข้อสังเกตว่า ประเด็นหลักที่ผู้ร้องถูกเลิกจ้างน่าจะเป็น
เพราะผู้ร้องได้ดำเนินการขัดผลประโยชน์ของกรรมการผู้จัดการ และดำเนินการเพื่อรักษาผลประโยชน์
ขององค์กร เช่น การท้วงติงเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายของกรรมการผู้จัดการ โดยที่ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ยังไม่ได้
รับการอนุมัติหรือเห็นชอบจากองค์การเภสัชกรรม ทำให้กรรมการผู้จัดการบริษัทไม่พอใจ และกล่าวว่า
ไม่ใช่หน้าที่ของผู้ร้อง ให้ทำตามที่สั่งและห้ามไม่ให้นำเอกสารใดๆส่งให้กับองค์การเภสัชกรรม หาก
ผู้ตรวจสอบบัญชีหรือองค์การเภสัชกรรมมีปัญหาประการใด ให้ติดต่อกับกรรมการผู้จัดการโดยตรง
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
กสม. มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อรัฐบาล และกระทรวงสาธารณสุข ดังนี้
๑. ในการดำเนินงานโดยจัดตั้งบริษัทร่วมทุนในรัฐวิสาหกิจโดยเฉพาะหากผู้ร่วมทุนเป็นชาว
ต่างชาติ ควรต้องมีการกำกับดูแลให้มีการดำเนินงานโดยโปร่งใส เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล และ
ให้ความสำคัญกับกระบวนการแรงงานสัมพันธ์ในหน่วยงานอย่างเคร่งครัดด้วย
๒. หากมีปัญหาการร้องทุกข์จากพนักงาน
ระดับบริหารขององค์กรที่รัฐวิสาหกิจร่วมทุน
กับชาวต่างประเทศ ต่อคณะกรรมการบอร์ด
คณะกรรมการçบอร์ด ต้องให้ความสำคัญกับการ
ดำเนินการสอบสวนเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงและ
วินิจฉัยข้อร้องทุกข์นั้น โดยยึดถือผลประโยชน์
ขององค์กรและประเทศชาติเป็นสำคัญ
กรณีตัวอย่าง การยุบเลิกหรือแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
เรื่องที่ ๑ การร้องเรียนของลูกจ้างโรงงานสุราบางยี่ขัน ในกำกับของกรมโรงงาน
อุตสาหกรรม (รายงานผลการตรวจสอบ ที่ ๔๒/๒๕๕๐ กรณีสิบตรี ไพศาล คล้ายสุบรรณ์ กับพวก
ผู้ร้องกรมโรงงานอุตสาหกรรม ผู้ถูกร้อง / คำร้องที่ ๕๔๙/๒๕๔๖)
ประเด็นการร้องเรียน ผู้ร้องถูกเลิกจ้างเนื่องจากมีการยุบเลิกโรงงานสุราบางยี่ขัน แห่งที่ ๑
และประมูลขายโรงงานสุราบางยี่ขัน แห่งที่ ๒ ให้กับบริษัท สุราบางยี่ขัน จำกัด (บริษัท สราญชัย
จำกัด ชื่อที่ใช้ขณะประมูล) โดยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการประมูลที่ระบุให้รับผู้ร้องกับพวกซึ่งเป็น
ลูกจ้างของโรงงานสุราบางยี่ขันเดิมเข้าทำงาน โดยรับไว้เพียง ๒๘๘ คน แม้บริษัท สุราบางยี่ขัน
จำกัด จะจ่ายค่าชดเชยให้กับผู้ร้องและลูกจ้างซึ่งบริษัท สุราบางยี่ขัน จำกัด ไม่รับเข้าทำงาน แต่ก็
เพียงเล็กน้อย ไม่สามารถทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้ร้องและลูกจ้างอื่นๆ ได้
ความเห็นของคณะอนุกรรมการฯ จากการตรวจสอบ พบว่า การที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม
กระทรวงการคลังไม่สามารถดำเนินการให้บริษัท สุราบางยี่ขัน จำกัด รับผู้ร้องกับพวกเข้าทำงานตาม
เงื่อนไขที่กำหนดในการประมูลโรงงานสุราบางยี่ขัน แห่งที่ ๒ ถือว่า กรมโรงงานอุตสาหกรรมดำเนิน
การโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและการไม่บังคับให้เป็นไปตามข้อตกลงที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมใช้เป็น
เงื่อนไขในการประมูลขายโรงงานบางยี่ขันแห่งที่ ๒ ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ร้องกับพวก
๑๓๔ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 134 7/28/08 9:04:21 PM