Page 136 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 136

๕
        บทที่






                    จากการตรวจสอบของคณะอนุกรรมการฯ เห็นว่า การกระทำของ บทด. เป็นการแจ้งข้อมูล
              ไม่ครบถ้วน ไม่ถูกต้อง และปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้ง จนถึงขนาดทำให้ผู้ร้องและพนักงานหลงเชื่อ
              และตัดสินใจเพื่อเข้าร่วมโครงการร่วมใจจากฯ อย่างไม่มีทางเลือก อันเป็นการแสดงเจตนาโดยกล
              ฉ้อฉลและใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕ ซึ่งการดำเนินการ
              ดังกล่าวของผู้ถูกร้องไม่สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๔๗ และไม่เป็นไป
              ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๘๖ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น รวมทั้ง
              กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ข้อ ๖ ข้อย่อย ๑ ที่กำหนดว่า
              รัฐภาคีแห่งกติกานี้รับรองสิทธิในการทำงาน  ซึ่งรวมทั้งสิทธิของทุกคนในโอกาสที่จะหาเลี้ยงชีพ
              โดยงานซึ่งตนเลือกหรือรับอย่างเสรี และจะดำเนินขั้นตอนที่เหมาะสมในการปกป้องสิทธินี้


              	     กสม.กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหา และมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อรัฐบาล ดังนี้
                    มาตรการในการแก้ไขปัญหา
                    ให้กระทรวงคมนาคมตรวจสอบความต้องการที่แท้จริงของผู้ร้องและพนักงานที่เกี่ยวข้อง และ
              ดำเนินการให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพนักงานแต่ละคนที่ได้ยื่นใบสมัครเข้าร่วมโครงการร่วมใจ
              จากฯ ภายใน ๔๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับรายงานฉบับนี้


              	     ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
              
     ๑. หากมติคณะรัฐมนตรี มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพของรัฐวิสาหกิจ จะต้องคำนึงถึงผล
              กระทบที่เกิดขึ้นกับพนักงานของรัฐวิสาหกิจนั้น และต้องมีมติในเรื่องดังกล่าวให้ชัดเจนด้วย
                    ๒. ในกรณีที่จะมีการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีผลกระทบต่อสิทธิและความมั่นคงในการ
              ทำงานของพนักงาน  จะต้องมีการแจ้งข้อมูลที่ครบถ้วนถูกต้อง  มีหลักเกณฑ์ที่โปร่งใสเป็นธรรม
              ใช้หลักธรรมาภิบาล และต้องให้พนักงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจตั้งแต่เริ่มกระบวนการจนสิ้นสุด
              ตลอดจน ต้องคำนึงถึงหลักประกันเรื่องสิทธิและประโยชน์ของพนักงานเป็นสำคัญ

              	     กรณีตัวอย่าง การละเมิดด้านการคุ้มครองสิทธิแรงงาน

                    ประเด็นการร้องเรียน พนักงานองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ได้ร้องเรียนต่อคณะอนุ
              กรรมการฯ รวมทั้งสิ้น ๗ เรื่อง มีผู้ร้อง จำนวน ๘ คน ในจำนวนนี้มี ๔ เรื่องเป็นกรณีสั่งพักงาน
              โดยไม่เป็นธรรมและละเมิดสิทธิมนุษยชน  อีก  ๓  เรื่องเป็นกรณี  เลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
              เปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง และการย้ายงานโดยไม่เป็นธรรม อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
                    คณะอนุกรรมการฯ ได้กำหนดจำแนกผู้ร้อง เป็น ๔ กลุ่ม และดำเนินการตรวจสอบ สรุปสาระ
              สำคัญข้อเท็จจริงได้ ดังนี้
                    - ผู้ร้องที่ ๑ ถึงที่ ๕ ร้องว่า ผู้ร้อง ทำหน้าที่เป็นพนักงานขับรถและพนักงานเก็บค่าโดยสาร

              ได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากถูกสั่งพักงาน โดยขัดต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและไม่ได้รับความ
              เป็นธรรม (คำร้องที่ ๔๐๙/๒๕๔๖ /มีผู้ร้อง ๒ คน, ที่ ๗๘๒/๒๕๔๖, ที่ ๕๘๔/๒๕๔๗ และคำร้องที่
              ๕๘๕/๒๕๔๗ )


        ๑๓๖  สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   136                                                                     7/28/08   9:04:25 PM
   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141