Page 141 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 141
การละเมิดสิทธิแรงงาน
คนทำงานภาครัฐ
ชั่วคราว ทั้งจากเงินงบประมาณ และเงินนอกงบประมาณ มีผลให้คนทำงานภาครัฐแต่ละประเภทได้
รับค่าจ้างและสวัสดิการที่แตกต่างกัน และมีการทำสัญญาจ้างที่ไม่เป็นธรรมกับลูกจ้างในหน่วยงาน
ของรัฐรูปแบบต่างๆ รวมทั้งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ สรุปได้ว่า ลูกจ้างเหล่านี้ได้รับสิทธิประโยชน์
และการคุ้มครองด้อยกว่าแรงงานภาคเอกชน ในขณะที่กฎหมายการบริหารราชการเขียนยกเว้นไม่ให้
ราชการอยู่ในบังคับใช้ของกฎหมายแรงงานทุกฉบับ และกฎหมายแรงงานทุกฉบับเขียนยกเว้นคน
ทำงานภาครัฐเช่นกัน
ครั้งที่ ๒ วันที่ ๗ - ๙ กันยายน ๒๕๔๙ ที่โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ อำเภอเมือง จังหวัด
พระนครศรีอยุธยา มีผู้เข้าร่วมการสัมมนาซึ่งเป็นผู้แทนจากส่วนงานภาคราชการและรัฐวิสาหกิจ
ในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ภาคกลาง จำนวน ๕๔ คน
ที่ประชุมสัมมนาได้สรุปประเด็นการละเมิดสิทธิแรงงานและจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อหาแนวทาง
ในการแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชน สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
๑) ผู้แทนสมาคมหมออนามัย กระทรวงสาธารณสุข เสนอปัญหาเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่
สาธารณสุขมีภาระงานมากเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนบุคลากรที่มีอยู่ และได้รับเงินค่าตอบแทนนอก
เวลาที่ไม่เหมาะสม ฯลฯ
๒) ผู้แทนสหภาพครูแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ เสนอปัญหาเกี่ยวกับการขาดอัตรา
ประมาณ ๗๐,๐๐๐ คน จึงต้องจ้างลูกจ้างเป็นครูช่วยสอนซึ่งไม่มีความมั่นคงในการทำงาน ไม่ได้รับ
สวัสดิการแต่ต้องรับภาระงานเต็มที่ ระบบการบริหารงานบุคลากรด้านการศึกษาซึ่งเป็นข้าราชการ
ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทำให้บุคลากรที่ทำงานในหน่วยเดียวกันมีความก้าวหน้าในการทำงานที่
แตกต่างกัน ปัญหาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการดำเนินงานซึ่งกระทบต่อความก้าวหน้าในทางวิชาชีพ
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๑๔๑
Master 2 anu .indd 141 7/28/08 9:05:09 PM