Page 135 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 135

การละเมิดสิทธิแรงงาน
                                                                                 คนทำงานภาครัฐ






              	     กสม.กำหนดมาตรการในการแก้ไขปัญหา และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ดังนี้
                    ๑. กระทรวงอุตสาหกรรม ต้องดำเนินการให้ผู้ถูกร้องดำเนินการบังคับให้บริษัทผู้ประมูลโรงงาน
              สุราบางยี่ขันดำเนินการตามข้อตกลงที่ได้ทำไว้กับผู้ถูกร้อง กล่าวคือต้องรับผู้ร้องกับพวกเข้าทำงาน
              ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ก่อนการเปิดประมูล
                    ๒. กระทรวงอุตสาหกรรม ต้องเจรจากับกระทรวงการคลังเพื่อขอจัดสรรเงินงบประมาณนำมา
              เป็นค่าชดเชยพิเศษสำหรับการเลิกจ้างที่เกิดขึ้นให้กับผู้ร้องกับพวก

              	     ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                    ๑.  รัฐ  ต้องจำแนกให้ความสำคัญในการกำกับดูแลสภาพการจ้างของพนักงานลูกจ้าง

              รัฐวิสาหกิจโดยให้ความเสมอภาค ไม่มีการเลือกปฏิบัติ และหากรัฐจำเป็นต้องแปรสภาพรัฐวิสาหกิจ
              ควรกำหนดกฎเกณฑ์โดยตราเป็นกฎหมายให้ชัดเจนและดำเนินการตามกฎหมายนั้นอย่างเคร่งครัด
                    ๒.  หากจำเป็นต้องเลิกจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีผลมาจากการแปลงสภาพ  รัฐบาลต้อง
                                                         กำหนดค่าชดเชยพิเศษนอกเหนือจากที่กำหนดไว้
                                                         ในกฎหมายคุ้มครองแรงงานอย่างเหมาะสมโดย
                                                         คำนึงถึงการครองชีพและโอกาสการมีงาน
                                                               ๓. รัฐต้องให้ความสำคัญ ดูแลการจ้างงาน

                                                         รวมถึงคุณภาพชีวิตและสวัสดิการของลูกจ้าง
                                                         ทุกประเภทที่ทำงานในภาคราชการทั้งระบบ ไม่ว่า
                                                         จะเป็นในหน่วยงานราชการ  องค์กรอิสระตาม
                                                         รัฐธรรมนูญ องค์การมหาชนหรือรัฐวิสาหกิจ ให้
              ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานและมีหลักประกันของสภาพการจ้างที่ไม่ต่ำกว่าเดิม เพื่อให้
              คุณภาพชีวิตของลูกจ้างดังกล่าวดีขึ้น

              	     เรื่องที่  ๒  พนักงานของบริษัท  ไทยเดินเรือทะเล  จำกัด  (บทด.)  ที่มีฐานะเป็น

              รัฐวิสาหกิจ  สังกัดกระทรวงคมนาคม  ถูกบริษัทไทยเดินเรือทะเล  จำกัด  บังคับให้เข้าร่วม
              โครงการ “ร่วมใจจากด้วยความยินดีทั้งสองฝ่าย” โดยไม่มีทางเลือกอื่น (รายงานผลการตรวจสอบ
              ที่ ๓๑/๒๕๕๐ กรณีนายจุลพงษ์ สัตย์ถาวงศ์ ผู้ร้อง บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด ผู้ถูกร้อง /
              คำร้องที่ ๑๖๐/๒๕๔๙)
                    จากมติคณะรัฐมนตรีวันที่  ๑๕  พฤศจิกายน  ๒๕๔๘  ให้มีการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่าง
              บริษัทไทยเดินเรือทะเล จำกัด (บทด.) กับ กลุ่มบริษัทเจ้าของเรือไทย จำนวน ๒๓ บริษัท โดยให้
              มีสัดส่วนการร่วมทุนของ บทด. กับกลุ่มบริษัทเจ้าของเรือไทย จำนวน ๒๓ บริษัท เป็นร้อยละ ๓๐
              และ ๗๐ ตามลำดับ และอนุมัติให้ บทด. ลงทุนในบริษัทร่วมทุนเป็นจำนวนเงิน ๒๐๐ ล้านบาท

              โดยใช้เงินของ บทด.ที่มีอยู่ภายหลังหักค่าใช้จ่ายและภาระผูกพันที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งมติ
              คณะรัฐมนตรีดังกล่าวไม่ได้ระบุให้ยุบเลิก บทด. แต่อย่างใด แต่ บทด.กลับบังคับให้พนักงานเข้าร่วม
              โครงการฯ จนเกิดผลกระทบต่อความมั่นคงในการมีงานทำของผู้ร้องอย่างยิ่ง


                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๑๓๕





     Master 2 anu .indd   135                                                                     7/28/08   9:04:24 PM
   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140