Page 131 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 131
การละเมิดสิทธิแรงงาน
คนทำงานภาครัฐ
แนวทางในการดำเนินการและกรณีตัวอย่าง
๑) การลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง - กรณีการละเมิดด้านความปลอดภัย อาชีว-
อนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
คณะอนุกรรมการฯ ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรณีที่มีการ
ร้องเรียนจากคณะทนายความกองคดีขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) เรื่องมลพิษและ
ฝุ่นละอองในบริเวณที่ ร.ส.พ.ย้ายสถานที่ทำการไปแห่งใหม่อย่างฉุกละหุก และไม่มีการเตรียมอาคาร
สถานที่ทำงานให้เหมาะสม โดยไปอยู่ในอาคารชั่วคราวบริเวณที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ซึ่งอยู่ติดกับโรงงานปูนซิเมนต์ ที่บางซื่อ สรุปปัญหาข้อร้องเรียนในสาระสำคัญ ดังนี้
(๑) สถานที่ทำงานแออัดมาก ผิดสุขลักษณะด้วยประการทั้งปวง
(๒) ห้องน้ำไม่ได้รับการซ่อมแซมดุแลให้ใช้งานได้ ทางเข้าห้องน้ำใช้ก้อนหินวางเรียงเพื่อให้
เป็นชั้นบันไดขึ้นลง น้ำท่วมขังทุกห้อง ชักโครกเสียหายขาดการเอาใจใส่ดูแล ทำให้อุจจาระล้นทำให้
สกปรก น้ำที่พื้นถ่ายเทไม่ได้ มีการแก้ไขโดยเจาะกำแพงให้เป็นทางออกของน้ำ ทำให้สิ่งสกปรกไหล
ออกมาด้านนอกขังนองที่พื้น เสี่ยงต่อการระบาดของโรคติดต่อทางเดินอาหารได้ง่าย
(๓) ฝุ่นละอองมาก มลภาวะเป็นพิษ เพราะสถานที่ทำงานอยู่ติดกับโรงงานผลิตปูนซิเมนต์
ซึ่งมีการขนย้ายปูนซิเมนต์ มีรถขนปูนวิ่งเข้าออกตลอดเวลา ทำให้เป็นอันตรายเสี่ยงต่อการเป็นโรค
ระบบทางเดินหายใจของพนักงานและผู้ที่มาติดต่อ
(๔) เครื่องปรับอากาศติดอยู่บนหลังคา ทำให้มีการดูดฝุ่นที่พื้นลอยขึ้นสู่อากาศ เป็น
อันตรายต่อสุขภาพและอนามัยของพนักงานที่ทำงานในบริเวณดังกล่าว
(๕) พนักงานต้องอาศัยพื้นของโรงงานและบนรถที่จอดรอขึ้นสินค้าที่จะขนส่ง เป็นสถานที่
นอนพักผ่อน ถือได้ว่า ผู้ถูกร้องไม่ได้จัดสวัสดิการที่พักให้กับพนักงานหรือ ลูกจ้างที่ทำการขนส่งตามที่
ควรจะทำ
(๖) มีรถเสียใช้งานไม่ได้จอดทิ้งไว้เกะกะเห็นได้ชัดว่าเป็นเวลานานแล้ว โดยไม่มีฝ่ายที่รับผิด
ชอบในการซ่อมบำรุงมาดูแล ทำให้พื้นที่โดยรอบขาดความเป็นระเบียบอย่างมาก
ซึ่งข้อร้องเรียนดังกล่าวสอดคล้องกับรายงานผลการตรวจสอบของกองตรวจความปลอดภัย
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ที่แจ้งแก่คณะอนุกรรมการฯ ว่า ระดับความเข้มของแสงสว่าง
มีค่าต่ำกว่ามาตรฐานความปลอดภัย รวม ๒๑ จุด ซึ่งได้เสนอแนะให้ปรับปรุงความเข้มของแสงสว่าง
และมิให้แสงสะท้อนของพระอาทิตย์ส่องเข้าตาพนักงานในขณะทำงาน ให้จัดทำแผนป้องกันและระงับ
อัคคีภัย รวมทั้งติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงให้เห็นชัดเจน และสามารถหยิบใช้งานได้สะดวกโดยไม่มีสิ่ง
กีดขวาง
จากการตรวจสอบพื้นที่เพิ่มเติมของคณะอนุกรรมการฯ พบว่า สภาพที่ทำงานใหม่ของ ร.ส.พ.
ไม่ถูกสุขลักษณะ มีปริมาณฝุ่นอยู่ในเกณฑ์มากกว่าปกติ ความเข้มของแสงต่ำกว่ามาตรฐาน ถือได้ว่า
มีมลภาวะเป็นพิษต่อสุขภาพอนามัย อันเป็นช่องทางให้มีการแพร่โรคติดต่อทั้งทางอาหารและการ
หายใจต่อพนักงานซึ่งต้องทำงานในบริเวณดังกล่าว ถือเป็นการละเมิดสิทธิพนักงาน
คณะอนุกรรมการฯ จึงขอให้องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ ดำเนินการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
แต่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ไม่ได้ดำเนินการแต่อย่างใด จนต่อมามีการยุบ ร.ส.พ.
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๑๓๑
Master 2 anu .indd 131 7/28/08 9:03:40 PM