Page 120 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 120

๔
        บทที่





              	     	 ๕.๒ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อกระทรวงแรงงานและรัฐบาล

                      คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในรายงานผลการตรวจ
              สอบฯ หลายกรณี สรุปได้ดังนี้
              	     	 ด้านการคุ้มครองแรงงาน สุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานและการประกัน
              สังคมมีสาระสำคัญ ดังนี้
                        (๑)  ให้มีแผนงานประชาสัมพันธ์เพื่อเพิ่มพูนความรู้แก่ประชาชน  ในเรื่องสิทธิตาม
              กฎหมายว่าด้วยเงินทดแทนและประกันสังคม และขั้นตอนการเรียกร้องสิทธิ เนื่องจากมีความซับซ้อน
              และคนทำงานยังสับสนระหว่างกองทุนทั้งสอง
              	     	   (๒) ให้ดำเนินการยกระดับมาตรการทางบริหารและการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อให้มีการเข้า
              ระบบกองทุนเงินทดแทนและกองทุนประกันสังคมอย่างครบถ้วนถูกต้อง เนื่องจากมีการหลีกเลี่ยงหรือ

              กระทำผิดกฎหมายอาญาเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบการจ้างเหมาหรือการจ้างงานระยะสั้น
              	         (๓)  ให้พิจารณากำหนดโครงสร้างค่าจ้างหรือรายได้ของคนทำงานที่เป็นธรรมในทุก
              ภาคส่วน โดยองค์กรแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบและภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมคิดและตัดสินใจ

















                        (๔) ให้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ว่าด้วยเงินทดแทนและกฎหมายว่าด้วยประกัน
              สังคมในส่วนที่เกี่ยวกับการเพิ่มช่องทางหรือสร้างกลไกทางกฎหมายรองรับ เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานหรือ
              ผู้ประกันตนเข้าถึงสิทธิตามกฎหมายได้ เช่น ในกรณีที่ไม่อาจดำเนินการตามกฎหมายได้ทันเวลา หรือ
              เกิดความผิดพลาดทางเทคนิค หรือศาลยังมิได้วินิจฉัยในประเด็นสำคัญแห่งคดี
              	     	 	 (๕) ให้มีมาตรการเพื่อคุ้มครองสิทธิของคนทำงานในกรณีที่ต้องปิดกิจการหรืออาจต้อง

              เลิกจ้างจำนวนมาก เช่น ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้พนักงานตรวจแรงงานมีอำนาจตรวจสอบสถานะของ
              กิจการหรือสั่งให้นายจ้างวางเงินเป็นหลักประกันสิทธิของลูกจ้างตามกฎหมาย หรือการจัดตั้งกองทุน
              	     	 	 (๖) พัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานตรวจแรงงาน โดยเชื่อมโยงกฎหมาย
              ด้านแรงงานของไทย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ ตลอดจน
              แนวปฏิบัติต่าง ๆ เช่น จรรยาบรรณทางการค้า
              	     	 	 (๗) ให้มีนโยบายหรือมาตรการเชิงป้องกัน สำหรับลูกจ้างที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานขนส่ง
              หรือการขับขี่ยานพาหนะ เนื่องจากเป็นงานเสี่ยงอันตราย  เกิดผลกระทบต่อครอบครัว ต่อสาธารณชน

              การผลิต และสังคมโดยรวม




        ๑๒๐  สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   120                                                                     7/28/08   9:01:52 PM
   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125