Page 118 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 118

๔
        บทที่






                                                              (๑)  แก้ไขหรือฟื้นฟูแรงงานสัมพันธ์
                                                       ระหว่างลูกจ้างกับนายจ้างให้เกิดความเข้าใจและ
                                                       ตระหนักในเรื่องสิทธิและเสรีภาพในการจัดตั้งองค์กร
                                                       การเจรจาต่อรอง  และการใช้สิทธิตามกฎหมาย
                                                       นอกจากนี้  แม้ว่านายจ้างมีอำนาจในการบริหาร
                                                       กิจการแต่ในการกำหนดหรือแก้ไขระเบียบ  หรือข้อ
                                                       บังคับต่าง ๆ ก็ควรคำนึงถึงภาระและความสามารถ
                                                       ในการปฏิบัติของลูกจ้างด้วย ตลอดจนเปิดโอกาสให้
                                                       องค์กรลูกจ้างมีส่วนร่วมด้วยเพราะจะต้องอาศัย

                                                       ความร่วมมือของลูกจ้างเป็นสำคัญ
                                                              (๒)  ตรวจสอบกรณีที่ฝ่ายบริหารหรือ
                                                       ผู้บังคับบัญชามีส่วนสำคัญในการละเมิด
                                                       สิทธิสหภาพแรงงาน  หรือคณะกรรมการลูกจ้าง
                                                       และพัฒนาให้เกิดความเข้าใจต่อเจตนารมณ์ของ
                                                       พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ และ
                                                       เคารพในเสรีภาพในการรวมตัวซึ่งรัฐธรรมนูญ

                                                       แห่งราชอาณาจักรไทยและกติการะหว่างประเทศ
                                                       รับรองไว้
                      (๓) ดำเนินการให้นายจ้างงดเว้นกระทำการใด ๆ ที่เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล
              ของลูกจ้าง  เช่น  การติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดจำนวนมากและในจุดที่ไม่เหมาะสม  การห้าม
              ตัวแทนเจรจาฝ่ายลูกจ้างเข้าไปในสถานประกอบกิจการในช่วงการเจรจาข้อเรียกร้อง
                      (๔)  ให้สรุปบทเรียนและทบทวนการดำเนินงานของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์  โดย
              เฉพาะในเรื่องการวินิจฉัยชี้ขาดเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรม เนื่องจากลูกจ้างและสหภาพแรงงานให้
              ข้อมูลว่าเจ้าหน้าที่ไกล่เกลี่ยในลักษณะที่กดดันให้ลูกจ้างรับเงินช่วยเหลือ ไม่วางตัวเป็นกลาง หรือ
              ทำให้ลูกจ้างหวั่นวิตกในการใช้สิทธิในกระบวนการยุติธรรม ไม่ช่วยเหลือลูกจ้างหรือสหภาพแรงงานใน

              การรวบรวมข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐาน ทำให้ข้อเท็จจริงไม่ครบถ้วนในการวินิจฉัย
                      (๕) ตรวจสอบและดำเนินการให้นายจ้างยกเลิกหรือแก้ไขระเบียบ ประกาศหรือคำสั่งใด ๆ
              ของนายจ้างที่เป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของลูกจ้างหรือองค์กรลูกจ้าง ในการดำเนินกิจกรรมหรือ
              เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารแก่ลูกจ้างหรือสมาชิกในสถานประกอบการ ให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรม
              มิใช่จำกัดสิทธิโดยเด็ดขาด
              	     	 ๕.๑.๕ ด้านการจ้างงานโดยไม่เป็นธรรม
                      คณะอนุกรรมการฯ  มีข้อเสนอมาตรการในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย  ในประเด็นการ

              จ้างเหมาค่าแรง คือ ให้ลูกจ้างหรือคนทำงานในกระบวนการผลิตเดียวกันได้รับ ค่าจ้างและสวัสดิการ
              ต่าง  ๆ ที่เป็นธรรม  โดยความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างสถานประกอบกิจการกับผู้รับเหมาค่าแรง
              ทั้งนี้ควรแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ และพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์


        ๑๑๘  สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   118                                                                     7/28/08   9:01:32 PM
   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123