Page 116 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 116
๔
บทที่
(๓) ให้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง สำหรับการพัฒนาการบริหาร
และการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยกองทุนเงินทดแทนของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบ
ของสำนักงาน เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานและประชาชนได้รับความเป็นธรรมตามกฎหมาย และเข้าถึง
กระบวนการยุติธรรมโดยสมบูรณ์และเท่าเทียม
ทั้งนี้ควรเปิดโอกาสให้ผู้ใช้แรงงานผู้ประกันตน นักวิชาการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ
องค์กรชุมชน และเจ้าหน้าที่หรืออาสาสมัครด้านสุขภาพ มีส่วนร่วมรับฟังและเสนอแนะข้อคิดเห็นด้วย
และให้จัดทำรายงานผลการประชุมเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชนด้วย
(๔) ควรให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการการขอรับเงินทดแทนตามสิทธิที่ผู้ประกัน
ตนควรจะได้รับตามที่กฎหมายบัญญัติไว้อย่างเสมอภาค เท่าเทียมและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย โดยให้
เกิดความร่วมมือระหว่างผู้ประกันตน นายจ้าง และองค์กรลูกจ้าง หรือร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ที่
เกี่ยวข้องในการคุ้มครองสิทธิของผู้ประกันตน
(๕) ควรปรับปรุงกระบวนการการสืบสวนหรือการสอบข้อเท็จจริงในการขอรับเงินทดแทน
โดยให้คำนึงถึงสิทธิของผู้ประกันตนที่ควรจะได้รับตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เช่น การมีเจ้าหน้าที่อย่าง
เพียงพอในพื้นที่บริการหรือพื้นที่รับผิดชอบ ให้สามารถเข้าไปตรวจสอบที่เกิดเหตุได้ทันท่วงที หรือใช้
ข้อมูลอื่นๆ มาประกอบการพิจารณา และพิจารณาเหตุผลอย่างโปร่งใส มีคณะกรรมการจากส่วนอื่นๆ
เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบด้วย เช่น ตัวแทนของผู้ประกันตน ตัวแทนสหภาพแรงงาน เป็นต้น
๑๑๖ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 116 7/28/08 9:01:18 PM