Page 122 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 122
๔
บทที่
๕.๓ ข้อเสนอแนะต่อนโยบาย กฎหมายหรือมาตรการของรัฐ
ในประเด็นการจ้างงานโดยไม่เป็นธรรมมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อรัฐบาลและ
กระทรวงแรงงานดังนี้
(๑) ให้รัฐบาลยกระดับเรื่องการจ้างงานให้เป็นระเบียบวาระแห่งชาติ บูรณาการหน่วยงาน
ภาครัฐในระดับนโยบาย ส่งเสริมบทบาทขององค์กรแรงงาน องค์กรนายจ้าง สถาบันทางวิชาการหรือ
สถาบันชุมชน ให้มีส่วนร่วมคิดและตัดสินใจทั้งในระดับนโยบายและการปฏิบัติ
จัดระบบฐานข้อมูลการจ้างงาน ปฏิรูปกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานทั้งหมด และจัดระบบการ
บริหารจัดการ การควบคุม ตรวจสอบ และการให้บริการแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ
(๒) ดำเนินนโยบายเชิงรุกเพื่อหันเหทิศทางการจ้างงานที่เน้นการแข่งขันเรื่อง ค่าจ้างหรือ
สวัสดิการต่ำไปสู่การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ และเพิ่มคุณภาพชีวิตแรงงาน
(๓) ให้รัฐบาลเร่งรัดหามาตรการแก้ไขปัญหา โดยให้คนทำงานทุกคนที่ทำงานในกระบวน
การผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของสถานประกอบกิจการได้รับค่าจ้าง สวัสดิการและสิทธิ
ประโยชน์ต่าง ๆ อย่างเป็นธรรม โดยควรแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ กับพระ
ราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ ควบคู่กัน และควรมีมาตรการเชิงบริหารเพื่อเป็นมาตรการ
เสริมมาตรการทางกฎหมายด้วย
(๔) ให้รัฐบาลเร่งรัดการปฏิรูปกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานหรือจัดทำประมวลกฎหมายแรงงาน
เพื่อให้ครอบคลุมคนทำงานในทุกภาคส่วนทั้งภาคเอกชน ภาครัฐวิสาหกิจหรือคนทำงานภาครัฐ
รวมทั้งในส่วนที่เป็นภาคในระบบและภาคนอกระบบ เพื่อให้ทันกับรูปแบบการจ้างที่เปลี่ยนแปลงไป
และสอดคล้องกับหลักการการคุ้มครองสิทธิแรงงาน หลักความเท่าเทียมกันและระบบแรงงานสัมพันธ์
ที่เป็นธรรม
(๕) ให้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการพิเศษเพื่อแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานในระบบการจ้าง
เหมาค่าแรง ให้ลูกจ้างของผู้รับเหมาค่าแรงสามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมายและสภาพการ
จ้างที่เป็นธรรม เนื่องจากลูกจ้างดังกล่าวถูกละเมิดสิทธิในหลายๆ ด้าน และไม่พร้อมที่จะแสดงตน
เพื่อใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย
๑๒๒ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 122 7/28/08 9:02:17 PM