Page 115 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 115
การละเมิดสิทธิแรงงาน
คนทำงานภาคเอกชน
(๔) ให้ดำเนินการสอบสวนพนักงานตรวจ
แรงงานที่บกพร่องหรือละเลยในการปฏิบัติหน้าที่
หรือกระทำการส่อไปในทางไม่สุจริต เอื้อประโยชน์
หรือเข้าข้างนายจ้าง หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ด้วยกฎหมาย ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราช
บัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑
(๕) ส่งเสริมให้สหภาพแรงงาน องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชนด้าน
แรงงานและภาคประชาสังคมด้านแรงงานมี
บทบาทและมีส่วนร่วมในการตรวจสถานประกอบ
กิจการเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองแรงงาน
๕.๑.๒ ด้านการแก้ไขเยียวยาเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยเนื่องจากการทำงาน
และด้านการประกันสังคม ให้สำนักงานประกันสังคม ดำเนินการแก้ไขปัญหา ดังนี้
(๑) ให้ปรับปรุงแก้ไขแนวทาง กระบวนการและหลักเกณฑ์การปฏิบัติหน้าที่ของ
เจ้าหน้าที่ในการรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานต่าง ๆ การใช้ดุลพินิจและการทำคำสั่งหรือ
คำวินิจฉัยเกี่ยวกับเงินทดแทน ตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗ เพื่อให้สอดคล้อง
กับเจตนารมณ์ของกฎหมายและให้เกิดผลในการคุ้มครองสุขภาพได้อย่างแท้จริง
(๒) ให้ดำเนินการสอบสวนการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัด
เชียงใหม่ ผู้สอบสวนและออกคำวินิจฉัย เรื่อง เงินทดแทน และการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการ
พิจารณาอุทธรณ์เงินทดแทน (กรณีทั่วไป) และคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน เนื่องจาก
คลาดเคลื่อนต่อข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายและเจตนารมณ์ตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน และดำเนินการให้
พนักงานเจ้าหน้าที่ออกคำสั่งใหม่ให้ผู้ร้องมีสิทธิได้รับเงินทดแทนตามกฎหมาย
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๑๑๕
Master 2 anu .indd 115 7/28/08 9:01:09 PM