Page 119 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 119
การละเมิดสิทธิแรงงาน
คนทำงานภาคเอกชน
พ.ศ. ๒๕๑๘ ควบคู่กันเพื่อความสอดคล้องและความเป็นเอกภาพของกฎหมายและการบังคับใช้
๕.๑.๖ มาตรการแก้ไขปัญหาต่อหน่วยงานรัฐอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ให้สำนักงาน
ตำรวจแห่งชาติดำเนินการให้สถานีตำรวจต่างๆ ดำเนินงานหรือแก้ไขปัญหา
โดยจัดประชุมเจ้าพนักงานตำรวจที่เกี่ยวข้องกับงานสืบสวนและสอบสวน โดยใช้กรณีร้อง
เรียนเป็นกรณีศึกษา เพื่อป้องกันมิให้นายจ้างกลั่นแกล้งดำเนินคดีอาญากับลูกจ้าง หรือใช้สิทธิโดยไม่
สุจริต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นดังต่อไปนี้
(๑) ในการสอบสวนคดีอาญาระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง จำเป็นต้องพิจารณาปัญหาหรือ
ข้อขัดแย้งทางด้านแรงงานประกอบด้วย และดำเนินการสอบสวนเชิงรุก เช่น ที่ได้ปฏิบัติในบางกรณีนี้
จนได้มาซึ่งข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานที่แสดงว่าผู้ต้องหามิได้กระทำความผิด อันเป็นการใช้
กระบวนการยุติธรรมทางอาญาขั้นต้นในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะประชาชนที่ยากไร้
(๒) เกณฑ์การพิจารณาเพื่อปล่อยตัวชั่วคราวควรให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งการใช้ดุลพินิจ การใช้ระเบียบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญา ควรคำนึงถึงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นหลัก
(๓) ในกรณีการให้บริการตรวจปัสสาวะเพื่อหาสารเสพติด ควรมีมาตรการสอดส่องดูแล
มิให้บุคคลใดแอบอ้างสถานภาพของเจ้าพนักงานตำรวจ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสารเสพติด และให้
ความสำคัญกับกรณีการใช้การตรวจหาสารเสพติดเพื่อกลั่นแกล้ง หรือละเมิดสิทธิเสรีภาพของลูกจ้าง
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๑๑๙
Master 2 anu .indd 119 7/28/08 9:01:41 PM