Page 114 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 114

๔
        บทที่






              	     การสัมมนาบทบาทคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ในการคุ้มครองสิทธิแรงงาน
                    เรื่อง “เดินหน้าหาอนาคตร่างพระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและ
              สภาพแวดล้อมในการทำงาน (ฉบับบูรณาการ)”
                    เรื่อง “การปรับปรุงกฎหมายว่าด้วย ศาลแรงงาน เราจะก้าวไปทางไหน”
              	     เรื่อง “นโยบายการพัฒนากฎหมายและการคุ้มครองสิทธิแรงงานในสถานการณ์ปัจจุบัน”
                    ผลจากการสัมมนาดังกล่าวนับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายด้าน
              สิทธิแรงงานต่อรัฐบาล


                    (๔) การร่วมมือกับสมาชิกรัฐสภา เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๗ จัดสัมมนาเรื่องแนวทาง
              ในการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานหญิงที่ตั้งครรภ์ โดยเชิญสมาชิกรัฐสภาหญิง และหลายฝ่าย
              มาร่วมหารือ ซึ่งชมรมสมาชิกรัฐสภาหญิงจัดโบว์ลิ่งการกุศลเพื่อระดมทุนช่วยเหลือลูกจ้างบริษัทเอ็ม
              เอ็ม ไอ พรีซิชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด จำนวน ๑๐ คน ที่ถูกเลิกจ้างในระหว่างตั้งครรภ์เนื่องจากบริษัทลด
              กำลังคน และเป็นเงินทุนในการต่อสู้คดี

              	     ๕. คณะอนุกรรมการฯ จัดทำรายงานผลการตรวจสอบเสนอ กสม. เพื่อ กสม.กำหนด

              มาตรการในการแก้ไขปัญหา และข้อเสนอเชิงนโยบาย
              
     
 ๕.๑ มาตรการในการแก้ไขปัญหาและเสนอแนะเชิงนโยบายต่อหน่วยงานของรัฐ *
              	     	 เนื่องจาก กสม. ไม่มีอำนาจตามกฎหมายในการดำเนินการให้แก้ไขปัญหา หรือชดใช้เยียวยา
              แก่ผู้ถูกละเมิด แต่ กสม. ยังไม่มีกรณีใดที่นำเสนอต่อรัฐสภาตามกฎหมาย นอกจากให้หน่วยงานของรัฐ
              สั่งการ และรณรงค์ให้สังคมและสาธารณชนรับทราบ จากรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิ
              มนุษยชน โดย กสม. ในคำร้องกรณีต่างๆ มีข้อเสนอให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการต่างๆ โดยสรุปดังนี้
              	     	 ๕.๑.๑ ด้านการคุ้มครองแรงงานและความปลอดภัยในการทำงาน
              	     	 ให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ดำเนินการแก้ไขปัญหาใน
              แต่ละด้านดังต่อไปนี้
                      (๑) แก้ไขประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง

              และการลงโทษโดยไม่เป็นธรรม
                      (๒) ให้นายจ้างจัดสถานที่ทำงานหรือสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัยและ
              ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของลูกจ้าง  ให้พนักงานตรวจแรงงานเข้มงวดในการสั่งการให้นายจ้าง
              ปรับปรุงแก้ไขสภาพแวดล้อมในที่ทำงานที่อาจเป็นอันตราย และให้มีมาตรการติดตามผลในการแก้ไข
              ปัญหาอย่างจริงจัง ตลอดจนบังคับใช้กฎหมายโดยเคร่งครัด
                      (๓)  ส่งเสริมให้นายจ้างและลูกจ้างได้ร่วมมือกันในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความไม่
              ปลอดภัยในการทำงาน โดยการจัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม

              ในการทำงาน  ที่คณะกรรมการลูกจ้างหรือสหภาพแรงงานมีส่วนร่วมในการคัดเลือกผู้แทนลูกจ้าง
              ระดับปฏิบัติการด้วย

              * ดูผลการแก้ไขตามรายงานผลการตรวจสอบโดย กสม. ในภาคผนวก (๑)

        ๑๑๔  สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   114                                                                     7/28/08   9:00:55 PM
   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119