Page 113 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 113

การละเมิดสิทธิแรงงาน
                                                                             คนทำงานภาคเอกชน






              	     ๑.๒ กรณีบริษัท จิน่า ฟอร์มบรา จำกัด ปิดกิจการ ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบ จำนวน ๑,๔๐๐ คน
                    ๑.๓  กรณีบริษัท  ไทยการ์เม้นท์  เอ็กซ์ปอร์ต  จำกัด  เลิกจ้างผู้นำสหภาพแรงงาน  โดย
              นายจ้างยอมรับกลับเข้าทำงานพร้อมจ่ายค่าเสียหายในระหว่างเลิกจ้าง
                    ๑.๔ กรณีบริษัท เจ ทรานสปอร์ต จำกัด ถูกร้องเรียนว่า ละเมิดสิทธิแรงงานขั้นพื้นฐาน และ
              คุกคาม ข่มขู่เอาชีวิตลูกจ้างเนื่องจากเข้าร่วมสหภาพแรงงานและใช้สิทธิตามกฎหมาย
                    ผลปรากฏว่านายจ้างยอมจ่ายเงินค่าจ้างขั้นต่ำ  ค่าจ้างในวันหยุดตามประเพณีและวันหยุด
              พักผ่อนประจำปีระหว่างปี ๒๕๔๖ - ๒๕๔๗ ให้แก่ลูกจ้างจำนวน ๑๗๓ คน เป็นเงินทั้งสิ้น ๒ ล้านบาท
                    ๑.๕  กรณีบริษัท  เอ็มเอสพี  สปอร์ตแวร์  จำกัด  เลิกจ้างและขัดขวางการจัดตั้งสหภาพ
              แรงงาน  ทั้งสองฝ่ายได้ทำบันทึกการตกลงไว้เป็นหนังสือ  ยอมรับการใช้สิทธิจัดตั้งองค์กรและการ

              เจรจาต่อรองของลูกจ้าง
              	     ๑.๖  กรณีบริษัท  กรุงเทพ  เซอร์เว็กซ์  จำกัด  ย้ายงานประธานสหภาพแรงงาน
              เนื่องจากเข้าร่วมฟังการชี้แจงข้อพิพาทแรงงานขอสหภาพแรงงานธนาคารกรุงเทพ  โดยนายจ้าง
              ยอมย้ายงานกลับไปที่เดิม
              	     ๑.๗ กรณีธนาคารออมสินสาขาปู่เจ้าสมิงพราย
              ย้ายงานลูกจ้างมีครรภ์โดยไม่เป็นธรรม  โดยนายจ้าง
              ได้ย้ายลูกจ้างกลับที่เดิมแล้ว

                    ๑.๘  กรณี  ลูกจ้างของห้างหุ้นส่วนจำกัด  ซี  บี
              เพ้นท์  สัมผัสสารทินเนอร์  จนเจ็บป่วยทางด้านสมอง
              และสูญเสียการทรงตัว  โดยนายจ้างไม่ฟ้องเพิกถอนคำ
              วินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน และจะช่วย
              เหลือลูกจ้างให้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง และ
              จะส่งงานที่เหมาะสมหรือไม่เป็นอันตรายมาให้ลูกจ้างทำที่บ้าน

                    (๒)  การประชุมร่วมกับจังหวัด  เดือนมิถุนายน  และสิงหาคม  ๒๕๔๘  จัดประชุมร่วมกับ
              ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง  ณ  ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดระยองเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้ง  กรณีบริษัท

              เจ ทรานสปอร์ต จำกัด ถูกร้องเรียนว่า ละเมิดสิทธิแรงงานขั้นพื้นฐาน และคุกคาม ข่มขู่เอาชีวิต
              ลูกจ้างเนื่องจากเข้าร่วมสหภาพแรงงานและใช้สิทธิตามกฎหมาย
                    วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ จัดประชุมร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุมศาลากลาง
              จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อแก้ไขปัญหากรณีบริษัท นากาชิมา รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
              ถูกร้องเรียนว่า ยื่นข้อเรียกร้องอันเป็น การเลือกปฏิบัติต่อสหภาพแรงงาน

                    (๓) การรณรงค์กฎหมาย และรัฐธรรมนูญ ในระหว่างปี ๒๕๔๘ - ๒๕๕๐ การจัดสัมมนา

              หลายครั้งเกี่ยวกับการประมวลสถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและการปฏิรูปการเมือง เพื่อให้
              ประชาชนมีส่วนร่วมและมีข้อเสนอให้บรรจุหลักการสิทธิแรงงานไว้ในรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเป็นช่วง
              การจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐


                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๑๑๓





     Master 2 anu .indd   113                                                                     7/28/08   9:00:55 PM
   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118